เมล็ดพันธุ์ผัก ต้นกล้า โรงเรือน อุปกรณ์การเกษตร โรคและแมลง อาหารเสริม ผลสด
เมล็ดพันธุ์คุณภาพ






108AGRIEQUIPMENT.COM
DUCKAGRO.COM

โรคที่มักเกิดกับต้นกล้า

    
  • โรคที่มักเกิดกับต้นกล้า
หลายๆท่านที่เริ่มทำต้นกล้ามักจะประสบปัญหา ต้นกล้าเน่า เสียหายเป็นอย่างมาก ซึ่งสาเหตุหลักๆ ส่วนใหญ่มาจาก ความชื้นที่เป็นตัวการหลักทำลายต้นอ่อนและต้นกล้า แต่ถึงอย่างไรแล้วโรคของต้นกล้า ก็ก่อเกิดมาจากอีกหลายสาเหตุ วันนี้108เทคโนฟาร์มจะพาไปดูกันค่ะว่า มีอะไรกันบ้าง

โรคเน่าคอดิน ( Damping-off) หรือโรคกล้าไหม้แห้ง ( seeding blight) เนื่องจากทำให้ต้นกล้าเหลืองและแห้งตาย โรคนี้สร้างความเสียหายอย่างมากแก่พืชในระยะกล้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กล้าของพืชผักต่างๆแทบทุกชนิด โดยลักษณะแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ


1. Pre-emergence damping off or seed rot เชื้อโรคเข้าทำลายเมล็ดพืชตั้งแต่ก่อนงอก ทำให้เมล็ดเน่า หรือทำลายหลังจากที่เมล็ดงอกเป็นต้นอ่อนแล้ว แต่ยังไม่ทันโผล่พ้นดินขึ้นมาก็เน่าตายเสียก่อน หรือพูดง่ายๆก็คือ หลังจากที่หว่านเมล็ดพืชลงไป มีต้นกล้างอกขึ้นมาไม่สม่ำเสมอ หายไปเป็นหย่อมๆ
2. Post-emergence damping off เชื้อโรคเข้าทำลายหลังจากที่ต้นกล้างอกโผล่พ้นดินขึ้นมาแล้ว โดยอาการเริ่มแรกจะเกิดรอยช้ำใสๆ ที่บริเวณโคนของต้นกล้า รอยช้ำจะแผ่ขยายออกรอบโคนต้น และกลายเป็นสีน้ำตาล เนื้อเยื่อส่วนนี้จะคอดลง ทำให้ต้นกล้าหักพับที่ระดับคอดิน

สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเกิดโรคเน่าคอดิน
1. ความชื้นในแปลงเพาะกล้าสูง เนื่องจากฝนตกชุก รดน้ำมากเกินไป และดินระบายน้ำไม่ดีพอ หรือ เพาะกล้าแน่นเกินไป ทำให้ความชื้นระหว่างต้นสูง ซึ่งสภาพเหมาะต่อการงอก และเข้าทำลายพืชของสปอร์เชื้อรา 2. การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนแก่พืชในระยะกล้ามากเกินไป ปุ๋ยไนโตรเจนจะเร่งการเจริญเติบโตของต้นกล้า การที่กล้าโตเร็วมากเกินไป ทำให้เซลล์อวบอ่อนเปราะบาง ง่ายต่อการเข้าทำลายของเชื้อราสาเหตุโรค โรคที่เกิดกับต้นอ่อนหรือกล้าผัก
การควบคุมโรค
1.จัดการระบายน้ำในแปลงให้ดี อย่าให้มีน้ำขังแฉะ
2.คลุกเมล็ดพืชก่อนปลูก เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อราที่อาจติดมากับเมล็ดพันธุ์ ด้วยสารเคมีควบคุมเชื้อราชนิดคลุกเมล็ด หรือถ้าไม่ต้องการใช้สารเคมี อาจคลุกเมล็ดด้วยไตรโคเดอร์มา อัตรา 10 -20 กรัม ต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม โดยผสมสารจับใบด้วยเล็กน้อย
3.รดน้ำแต่พอควรและเป็นครั้งคราว ควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำแก่พืชในเวลาเย็นหรือใกล้ค่ำ
4.ไม่ควรเพาะกล้าแน่นเกินไป เพราะจะทำให้ความชื้นระหว่างต้นสูง เกิดสภาพเหมาะต่อการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุโรค การแบ่งแปลงเพาะกล้าออกเป็นแปลงย่อยๆจะช่วยให้ถ่ายเทอากาศได้ดี และง่ายต่อการดูแลรักษา
5.ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในระยะกล้ามากเกินไป
6.เมื่อพบโรค ควรขุดต้นกล้าที่เป็นโรคและต้นรอบๆใส่ถุงพลาสติก นำออกไปเผาทิ้งนอกแปลง คลุกหรือราดดินบริเวณนั้นด้วย metalaxyl ผสม mancozeb หรือ ไตรโคเดอร์มา เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด
7.เลือกซื้อเมล็ดที่มีคุณภาพจากผู้จัดจำหน่ายที่เชื่อถือได้ เพื่อลดโอกาสได้เมล็ดพันธุ์ไม่ดี

ที่มา: โรคของผักและการควบคุมโรค โดย อ.ศศิธร วุฒิวณิชย์

.............................................................................................
หากท่านต้องการซื้อเมล็ดพันธุ์คุณภาพ อุปกรณ์การเกษตร ทั้งปลีกและส่ง ติดต่อสอบถามได้ที่
บริษัท 108เทคโนฟาร์ม จำกัด
โทร. 092 528 1777
E-mail: [email protected]
www.108technofarm.com
Facebook: www.facebook.com/108technofarm
Line: @108technofarm
IG: 108technofarm
108 เทคโนฟาร์ม

แสดงความคิดเห็น
คุณสมบัติ วันที่ประกาศ 2017-11-27