เมล็ดพันธุ์ผัก ต้นกล้า โรงเรือน อุปกรณ์การเกษตร โรคและแมลง อาหารเสริม ผลสด
เมล็ดพันธุ์คุณภาพ






108AGRIEQUIPMENT.COM
DUCKAGRO.COM

รู้ไว้ใช่ว่า ตอน เมล็ดพันธุ์(seed)

    
  • รู้ไว้ใช่ว่า ตอน เมล็ดพันธุ์(seed)

รู้ไว้ใช่ว่า ตอน เมล็ดพันธุ์(seed)

โดย: นิติภูมิ เจริญศรีสัมพันธ์

“เมล็ดพันธุ์” (Seed) กับ “เมล็ดพืช” (Grain) มีความหมายแตกต่างกันคือ เมล็ดพันธุ์ (Seed) นั้นจะต้องมีชีวิต

และเป็นตัวนาลักษณะต่าง ๆ ที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากชั่วชีวิตหนึ่งไปยังอีกชั่วชีวิตหนึ่งได้ ซึ่งส่วนใหญ่

จะนาไปใช้เพาะปลูก เช่น เมล็ดพริก, เมล็ดคะน้า, เมล็ดถั่วฝักยาว เป็นต้น แต่เมล็ดพืช (Grain) นั้นจะมีชีวิตหรือ

ไม่มีชีวิตก็ได้ ซึ่งส่วนใหญ่นามาใช้ในการบริโภค เช่น เมล็ดธัญพืช เป็นต้น

“เมล็ด” กับ “เม็ด” ก็มีความหมายแตกต่างเช่นเดียวกัน ซึ่งคนส่วนใหญ่มักใช้คา 2 คานี้ผิด “เมล็ด” เอาไว้ใช้เรียก

เมล็ดพันธุ์พืช ซึ่งเอาไว้ใช้เพาะปลูก แต่ “เม็ด” เอาไว้ใช้เรียก สิ่งที่มีลักษณะกลมๆ ก้อนๆ เช่น เม็ดกระดุม, เม็ดทราย

เป็นต้น

 

การงอกของเมล็ดพันธุ์ (Seed Germina- tion) คือ ระยะตั้งแต่เริ่มแรก ที่เมล็ดพันธุ์ดูดน้า และเกิดกระบวนการต่างๆ

ขึ้นภายในเมล็ดไปจน กระทั่งถึงระยะที่ต้นอ่อนเจริญเติบโต และพัฒนาไปเป็นต้นกล้าที่แข็งแรงสามารถเจริญเติบโตเป็น

ต้นกล้าที่สมบรูณ์ได้ และการที่เมล็ดพันธุ์จะงอกเป็นต้นกล้าที่สมบรูณ์นั้น จะต้องมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดพันธุ์ 4 ข้อ

ดังนี้

1. น้ำ ทาให้เปลือกเมล็ดอ่อนนุ่ม ทาให้เมล็ดมีการดูดซึมออกซิเจนได้มาก และทาให้เมล็ดมีการหายใจมากขึ้น ซึ่งทำ

ให้เกิดกิจกรรมทางชีวเคมีมากขึ้น เช่น การย่อยอาหารสะสมภายในเมล็ดเป็นโมเลกุลเล็กลง ทาให้สะดวกต่อการขนย้าย

อาหารและน้ำยังเป็นพาหะช่วยในการขนย้ายอาหารต่างๆไปยังจุดเจริญ เช่น ปลายราก, ยอดอ่อน เป็นต้น

ดังนั้นเมล็ดที่มีลักษณะเปลือกที่หนา เช่น เมล็ดบวบ, เมล็ดมะระจีน จะใช้เวลาในการงอกนานกว่าเมล็ดที่มีเปลือกบาง เช่น

เมล็ดข้าวโพด เพราะเมล็ดที่มีเปลือกหนา น้าจะซึมผ่านเข้าไปในเมล็ดได้ช้ากว่า จึงทาให้เมล็ดเกิดกิจกรรมทางชีวเคมีช้า

ทำให้เมล็ดใช้เวลาในการงอกนานกว่า ยกตัวอย่าง เมล็ดข้าวโพดใช้ระยะเวลาในการงอกแค่ 4-7 วัน ในขณะที่เมล็ดมะระ

ใช้เวลาในการงอกถึง 4-14 วัน

2. ออกซิเจน เมล็ดจะใช้ออกซิเจนเพื่อการหายใจเพื่อย่อยสลายอาหาร และได้พลังงานออก มาใช้ในการงอก โดยทั่วไป

เมล็ดจะงอกได้ถ้ามีปริมาณออกซิเจนมากขึ้น โดยสภาพบรรยากาศ ทั่วไปมีปริมาณออกซิเจน 21 % ซึ่งเพียงพอต่อการงอก

อยู่แล้ว แต่การหยอดเมล็ดที่ลึกเกินไป หรือยอดเมล็ดแล้วกดดินทับให้แน่น เป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง เพราะเมล็ดจะขาดออกซิเจน

ทำให้เมล็ดงอกไม่ดี

3.แสง เมล็ดพืชบางชนิดต้องการแสงในการงอก เช่น พริก, มะเขือ, มะเขือเทศ เนื่องจากแสงจะไปทาลายการพักตัวของเมล็ด

โดยแสงชักนาให้เกิดการสังเคราะห์ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน ซึ่งจะไปกระตุ้นการงอกของเมล็ดให้งอกดีขึ้น

4. อุณหภูมิ โดยทั่วไปเมล็ดพันธุ์จะสามารถงอกได้ดี ที่อุณหภูมิระหว่าง 10-35 oC ซึ่งถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้เมล็ดอาจจะไม่งอก

หรืองอกได้ไม่ดี เช่น เมื่อหยอดเมล็ดลงไปในดินแล้วรดน้า ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 35 oC เมล็ดอาจจะไม่งอกเพราะเมล็ดอาจเกิด

อาการที่เรียกว่า “ตายนึ่ง”


แสดงความคิดเห็น
คุณสมบัติ วันที่ประกาศ 2013-08-06