เมล็ดพันธุ์ผัก ต้นกล้า โรงเรือน อุปกรณ์การเกษตร โรคและแมลง อาหารเสริม ผลสด
เมล็ดพันธุ์คุณภาพ






108AGRIEQUIPMENT.COM
DUCKAGRO.COM

วิธีเพิ่มผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อน

    
  • วิธีเพิ่มผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อน

ข้าวโพดฝักอ่อน เป็นพืชที่นิยมรับประทานอย่างแพร่หลาย และเป็นพืชอุตสาหกรรมที่มีการส่งออกในต่างประเทศอย่างจำนวนมากในแต่ละปี วันนี้ 108 เทคโนฟาร์มมีรายละเอียดวิธีการปลูก และการเพิ่มผลผลิตมาฝากกันค่ะ ว่าทำอย่างไร? ถึงจะได้ข้าวโพดฝักอ่อนที่มีคุณภาพ และผลผลิตสูง
ดินและการเตรียมดิน
ในอัตรา 500 - 700 กิโลกรัมต่อไร่ คลุกเ ดินที่เหมาะสมในการปลูกข้าวโพดฝักอ่อน ควรเป็นดินที่มีการระบายน้ำดี คือ ดินร่วนทรายถึงดินเหนียว มีสภาพความเป็นกรด เป็นด่าง ที่เหมาะสมระหว่าง 6.5 - 7.5 หากที่ดินมีสภาพความเป็นกรดต่ำกว่า 5 ก่อนปลูกประมาณ 1 เดือน ควรหว่านปูนขาวให้ทั่วแปลงคล้ากับดินโดยการไถพรวน หรือ สับดินแล้วรดน้ำให้ทั่วแปลง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดความเป็นกรดของดินได้เร็วขึ้น

1. การเตรียมดินไร่หรือดินร่วน

ไถบุกเบิกเพื่อพลิกหน้าดินและทำลายหญ้าด้วยไถผาน 3 ให้ลึกประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร (1 คืบ หรือ 1 หน้าจอบ) แล้วทิ้งไว้ประมาณ 7 - 10 วัน เพื่อตากดินและปราบวัชพืชไปในตัว จากนั้นจึงไถพรวนด้วยไถผาน 7 เพื่อย่อยดินให้ร่วนซุยเหมาะแก่การงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้า รวมทั้งทำลายกวัชพืชที่กำลังงอกไปด้วย หลังจากนั้นจึงชักร่องปลูกให้มีระยะห่างระหว่างร่อง 50 เซนติเมตร และร่องมีความลึก 10 เซนติเมตร

2. การเตรียมดินสวนหรือดินเหนียว

ควรยกร่องให้สันแปลงกว้างประมาณ 3.5 - 4.5 เมตร เพื่อความสะดวกในการให้น้ำและการรกะบายน้ำ เว้นที่ไว้สำหรับใช้เป็นทางเดินรอบๆ แปลง ประมาณ 0.5 เมตร สองข้างแปลงขุดเป็นร่องน้ำขนาดกว้าง 1 เมตร ลึก 1 เมตร พลิกหน้าดินบริเวณสันแปลงให้ลึกประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร ตากทิ้งไว้ 7 - 10 วัน หลังจากนั้นจึงย่อยดินให้ร่วนซุยอีกครั้ง  ในการเตรียมดินทั้ง 2 ประเภทนี้ หากเกษตรกรมีรถไถเดินตาม สามารถนำมาใช้ได้ โดยให้ดินมีความชื้นพอเหมาะเสียก่อน

การปลูก

ขุดหลุมปลูกลึกประมาณ 10 เซนติเมตร ให้ระยะระหว่างหลุมห่างกัน 50 เซนติเมตร และระยะระหว่างแถวห่างกัน 50 เซนติเมตร เช่นกัน รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกและปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ถ้าพื้นที่เป็นดินกรดและยังไม่ได้ใส่ปูนขาวก็ให้ใส่ปูนขาวลงไปด้วย จากนั้นคลุกเคล้าปุ๋ยคอก ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และปูนขาวให้เข้ากัน กลบด้วยดินปากหลุมลงไปครึ่งหลุม (หนาประมาณ 3 เซนติเมตร) แล้วหยอดเมล็ดพันธุ์ 3 เมล็ดต่อหลุม โดยวางเมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยมให้แต่ละเมล็ดห่างกันพอประมาณ แล้วใช้ดินที่เหลือกลบเมล็ด (หนาประมาณ 4 เซนติเมตร) เมื่อปลูกเสร็จให้รีบรดน้ำหรือให้น้ำทันที

สำหรับสูตรและอัตราส่วนของปุ๋ยวิทยาศาสตร์ที่ใช้รองก้นหลุมแตกต่างกันตามสภาพพื้นที่ ดังนี้


1.1 ในเขตภาคกลางตอนบน ในบริเวณแถบจังหวัดชัยนาท อยุธยา สิงห์บุรี และอ่างทอง ถ้าเป็นที่นาที่เคยใส่ปุ๋ยนา มาก่อน ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 21 - 0 - 0 อัตรา 50 - 70 กิโลกรัมต่อไร่ หรือประมาณ 2 - 3 ช้อนโต๊ะต่อหลุม ถ้าเป็นที่ซึ่งไม่เคยใส่ปุ๋ยนา มาก่อน ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 16 - 20 - 0 อัตรา 40 - 50 กิโลกรัมต่อไร่ หรือประมาณ 2 ช้อนโต๊ะต่อหลุม

1.2 ในเขตภาคกลางตอนล่าง ในบริเวณแถบจังหวัดปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพฯ นครปฐม ราชบุรี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 45 - 0 - 0 หรือ 21 - 0 - 0 อัตรา 25 - 50 กิโลกรัมต่อไร่ หรือประมาณ 1 - 2 ช้อนโต๊ะต่อหลุม

1.3 ในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15 - 15 - 15 หรือ 20 - 10 - 10 อัตรา 75 - 100 กิโลกรัมต่อไร่ หรือประมาณ 3 - 4 ช้อนโต๊ะต่อหลุม

ข้อควรระวัง อย่าให้ปุ๋ยเคมีกับเมล็ดพันธุ์สัมผัสกันโดยตรง เพราะขณะที่ปุ๋ยละลายจะคายความร้อน ทำให้เมล็ดพันธุ์เน่าเสียได้

การดูแลรักษา

1. การถอนแยกและการใส่ปุ๋ย

เมื่อต้นข้าวโพดมีอายุได้ 15 วัน หรือต้นมีความสูงประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร ให้ถอนแยกต้นที่ไม่สมบูรณ์ออกเหลือหลุมละ 2 ต้น แล้วพรวนดินเพื่อกำจัดวัชพืชพร้อมทั้งใส่ปุ๋ย โดยโรยข้างแถวปลูกห่างจากโคนต้นประมาณ 1 คืบ หลังจากนั้นจึงกลบปุ๋ยด้วยดินและพูนโคนต้นในคราวเดียวกัน สำหรับสูตรและอัตราส่วนปุ๋ยที่ใช้โรยข้างแถวปลูกจะแตกต่างกันดังนี้

1.1 ในเขตภาคกลางตอนบน ใช้ปุ๋ยสูตร 21 - 0 - 0 อัตร 25 - 50 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 1 - 2 ช้อนโต๊ะต่อต้น

1.2 ในเขตภาคกลางตอนล่าง ใช้ปุ๋ยสูตร 45 - 0 - 0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 1 ช้อนโต๊ะต่อต้น หรือปุ๋ยสูตร 21 - 0 - 0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 2 ช้อนโต๊ะต่อต้น

1.3 ในเขตภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ปุ๋ยสูตร 45 - 0 - 0 อัตรา 25 - 30 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 1 ช้อนโต๊ะต่อต้น หรือปุ๋ยสูตร 21 - 0 - 0 อัตรา 50 - 75 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 2 - 3 ช้อนโต๊ะต่อต้น

2. การให้น้ำ

ถ้าปลูกในสวนควรให้น้ำวันละครั้ง (ยกเว้นวันที่ฝนตกหนัก) โดยวิธีการใช้แครงสาดหรือใช้เครื่องพ่นน้ำมีท่อพ่นน้ำออก 2 ข้าง ส่วนในพื้นที่ที่เป็นที่ไร่ควรให้น้ำทุกวันเช่นกัน ถ้าทำไม่ได้ควรให้ 2 วันต่อครั้ง โดยใช้วิธีให้น้ำตามร่อง การให้น้ำควรให้อย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเวลาเก็บเกี่ยวหมดแปลง

3. การป้องกันกำจัดศัตรูพืช

3.1 การป้องกันกำจัดแมลง เนื่องจากข้าวโพดฝักอ่อนมีอายุตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงวันที่เก็บเกี่ยวสั้น เพียง 45 - 60 วัน จึงมีแมลงศัตรูรบกวนน้อย ทำให้ไม่ต้องระวังโรคแมลงนัก แต่ถ้าพบแมลงศัตรูระบาด ควรใช้วิธีกล เช่น ใช้แสงล่อแมลงหรือใช้สารชีวภาพ เช่น ในระยะที่ข้าวโพดยังเป็นต้นกล้า หากเกิดภาวะฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง มักจะมีเพลี้ยไฟระบาดทำความเสียหาย ควรให้น้ำหากน้ำจำเป็นต้องใช้สารเคมี ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดและวงจรชีวิตของแมลงมีพิษตกค้างระยะสั้น และน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

3.2 การป้องกันกำจัดโรค พบว่าโรคที่สำคัญและทำความเสียหายแก่ข้าวโพดฝักอ่อนมากที่สุดคือ โรคราน้ำค้าง

การถอดดอก

เมื่อต้นข้าวโพดมีอายุประมาณ 38 วัน หรือเมื่อต้นข้าวโพดมีใบจริงครบ 7 คู่ กรือ 14 ใบ ช่อดอกตัวผู้จะเริ่มโผล่ออกมาจากใบธง(ใบยอด) ให้ถอดช่อดอกตัวผู้ทิ้ง โดยใช้มือหนึ่งจับลำต้นไว้ ส่วนอีกมือหนึ่งให้จับใบข้าวโพดที่ม้วนอยู่ตรงกลางของยอดแล้วดึงออกมาตรงๆ การถอดดอกนี้ก็เพื่อป้องกันข้าวโพดผสมพันธุ์กัน เพราะถ้ามีการผสมพันธุ์เกิดขึ้น ข้าวโพดฝักอ่อนจะมีคุณภาพด้อยลง เนื่องจากเมล็ดจะโปร่งพองและทำให้ข้าวโพดไม่ได้มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ นอกจากนี้การถอดดอกยังช่วยเร่งให้สามารถเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น และยังเป็นการช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนอีกด้วย

ปัจจุบันมีพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนที่ดอกตัวผู้เป็นหมัน (Male Sterile) จึงไม่จำเป็นต้องถอดดอกแต่พบว่าปลายฝักอ่อนทู่ไม่เรียวแหลม ตลาดไม่ชอบและผู้ทำหน้าที่ถอดดอก คือ เกษตรกรที่เลี้ยงโคนม ขาดแคลนดอกและยอดข้าวโพดไปเลี้ยงโคนม ดังนั้นจึงยังมีการถอดดอกต่อไป

การเก็บเกี่ยวและการรักษา

จะเริ่มเก็บเกี่ยวขัาวโพดฝักอ่อนได้ เมื่อมีไหมโผล่พ้นฝักออกมาประมาณ 1-2 เซนติเมตร หรือเมื่อต้นข้าวโพดอายุประมาณ 45-50 วัน สำหรับวิธีการเก็บเกี่ยวให้จับส่วนก้านฝักหักหรือบิด แล้วดึงฝักออกจากต้นใส่ลงในภาชนะ เช่น ตะกร้า ถุงหรือกระสอบ แล้วรวบรวมไว้ การเก็บควรกระจายข้าวโพดฝักอ่อนไว้ให้อากาศระบายถ่ายเทได้ อย่ากองสุมกัน จะทำให้ฝักข้าวโพดเน่าเสียหาย


การเก็บเกี่ยวควรเก็บติดต่อกันทุกๆ วัน โดยเก็บไล่จากฝักบนสุดลงมาฝักที่อยู่ด้านล่าง ข้าวโพดต้นหนึ่งๆ จะให้ฝักอ่อนประมาณ 3-4 ฝัก ระยะเวลาในการเก็บฝักประมาณ 10-12 วัน ก็จะหมดรุ่น

ผลผลิตโดยเฉลี่ยจะได้ข้าวโพดฝักอ่อนทั้งเปลือกประมาณ 1,000-1,500 กิโลกรัมต่อไร่ น้ำหนักฝักสดหลังปอกเปลือกแล้วประมาณ 150-215 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ ฤดูกาล และการจัดการ


การปอกเปลือก

ใช้มีดเล็กบางปลายแหลมคมกรีดเบาๆ ไปตามความยาวตลอดฝัก จากนั้นใช้มีดควั่นรอบโคนฝักแล้วแกะเปลือกออกตามรอยกรีดนั้น รูดเส้นไหมออกให้หมด เสร็จแล้วใส่ฝักข้าวโพดไว้ในภาชนะที่มีการระบายอากาศดี เก็บไว้ในที่ร่ม โดยไม่ต้องพรมน้ำเพื่อให้ความชื้นแก่ฝักข้าวโพด เพราะจะทำให้ฝักข้าวโพดเน่าหรือฝักเปลี่ยนเป็นสีดำ แต่อาจใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำบิดพอหมาดๆ คลุมปิดทับไว้ด้านบนเพื่อป้องกันฝักข้าวโพดที่อยู่ด้านบนไม่ไห้แห้งเกินไป


ข้อควรระวัง ในการกรีดข้าวโพดฝักอ่อน อย่าให้ปลายมีดโดนแกนอ่อน เพราะจะเป็นรอยดำ มีตำหนิ ทำให้เสียราคา และส่งออกไม่ได้


มาตรฐานฝักอ่อน

โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นตลาดฝักอ่อนสด แช่แข็ง หรือโรงงานบรรจุกระป๋องต่างต้องการข้าวโพดฝักอ่อนปอกเปลือกแล้วที่มีแกนสีเหลืองอ่อน ฝักสมบูรณ์ไม่หักหรือคดงอ การเรียงของไข่ปลาตรงและแน่น ไม่แยกให้เห็นเป็นร่อง และไข่ปลาไม่โป่งพอง ไม่มีรอยมีดกรีดหรือรอยดำ และต้องเอาเส้นไหมออกให้หม ขนาดของฝักมี 2 ขนาด คือ

      1. ขนาดเล็ก (เกรดเอ) ฝักมีความยาว 4-7 เซนติเมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.0-1.2 เซนติเมตร

      2. ขนาดกลาง (เกรดบี) ฝักมีความยาว 7-9 เซนติเมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.2-1.5 เซนติเมตร


ขอขอบคุณข้อมูลจาก e-magazine มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


.............................................................................................
หากท่านต้องการซื้อเมล็ดพันธุ์คุณภาพ อุปกรณ์การเกษตร ทั้งปลีกและส่ง ติดต่อสอบถามได้ที่
บริษัท 108เทคโนฟาร์ม จำกัด
โทร. 092 528 1777
E-mail: [email protected]
www.108technofarm.com
Facebook: www.facebook.com/108technofarm
Line: @108technofarm
IG: 108technofarm
108 เทคโนฟาร์ม



แสดงความคิดเห็น
คุณสมบัติ วันที่ประกาศ 2017-10-27