วิธีปลูกมะเขือเปราะ
|
คุณประโยชน์ของมะเขือ
มะเขือมีกากใยสูงและมีปริมาณแร่ธาตุมากแยกไปตามสายพันธุ์ เช่น โพแทสเซียม แมงกานิส
ทองแดง วิตามินบี 1 และ บี 6 มีโฟเลตสูงด้วย ใครที่ต้องการโฟเลตรับประทานมะเขือเปราะทุกวัน
วันละ 2 ลูก ก็เพียงพอ แถมยังมีสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย
มีสารต้านมะเร็ง และสามารถควบคุมคอเลสเตอรอลได้ดีอีกด้วย ให้เตรียมดินละเอียดพร้อมปุ๋ยในอัตรา 2:1 และใส่ดินผสมดังกล่าวลงในถาดพลาสติกเพาะกล้า ใช้เศษไม้เล็กๆ (ขนาดเท่าไม้จิ้มผลไม้) กดลงไปในดินที่บรรจุอยู่ในถาดพลาสติกเพาะกล้า ขนาดความลึก 0.5 ซม. นำเมล็ดมะเขือเปราะหยอดลงในหลุมปลูก หลุมละ 1-2 เมล็ด และกลบดิน หลังเพาะนาน 7-10 วัน มะเขือเปราะเริ่มงอก หมั่นรดน้ำต้นกล้ามะเขือเปราะทุกวันๆ ละ 1-2 ครั้ง ในช่วงเข้าและเย็นจนกระทั่งต้นกล้ามะเขือเปราะมีอายุ 25-30 วัน จึงย้ายกล้ามะเขือเปราะลงปลูกในกระถางหรือในแปลงปลูก ถ้าปลูกในแปลงควรเตรียมดินปลูก โดยใช้จอบขุดย่อยดินหน้าดินลึก 15-20 ซม. และย่อยดินให้ละเอียด ใส่ปุ๋ย หว่านและคลุกเคล้าให้เข้ากับดินในแปลง ในกรณีปลูกมะเขือเปราะในกระถาง ให้ผสมดินปลูกในกระถาง โดยใช้ดินร่วนละเอียดผสมกับปุ๋ย ในอัตรา 2:1 มะเขือเป็นพืชที่มีระบบรากปานกลาง การเพาะกล้าควรขุดไถดินลูกประมาณ 15 ซม. ตากดินไว้ 10-15 วัน ใส่ปุ๋ยคลุกเคล้าในดินเพื่อช่วยให้ดินร่วนฟู พรวนดินให้ละเอียด หว่านเมล็ดมะเขือทั่วแปลง แล้วหว่านปุ๋ยคอกกลบทับ ควรรดน้ำทุกวัน และในช่วงการติดผลต้องระมัดระวังในการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 45-60 วัน มะเขือเปราะเริ่มทยอยผลผลิต สามารถเก็บผลผลิตไปบริโภคได้ หลังจากที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตมะเขือเปราะไปแล้วประมาณ 2 เดือน ควรตัดแต่งกิ่งออกบ้าง เพื่อทำให้ลำต้นมะเขือเปราะเจริญเติบโตแตกกิ่งก้านใหม่ที่มีความแข็งแรง จะให้ผลผลิตรุ่นใหม่ได้อีก และควรทำการตัดแต่งและบำรุงต้นมะเขือเปราะด้วยฮอร์โมนทุกๆ 2-3 เดือน โรคและแมลงศัตรูพืชของมะเขือเปราะ โรคที่สำคัญของมะเขือคือโรคใบด่าง โรคเหี่ยว แอนแทรคโนส โรคผลเน่า แมลงที่พบบ่อยคือ เพลี้ยไฟ หนอนเจาะผล แมลงวันทองขอบคุณข้อมูลจาก kasetorganic |
แสดงความคิดเห็น |
วันที่ประกาศ 2017-05-02 |