เมล็ดพันธุ์ผัก ต้นกล้า โรงเรือน อุปกรณ์การเกษตร โรคและแมลง อาหารเสริม ผลสด
เมล็ดพันธุ์คุณภาพ






108AGRIEQUIPMENT.COM
DUCKAGRO.COM

เมล็ดพันธุ์มะละกอ(ข้อมูลการปลูก)

    
  • เมล็ดพันธุ์มะละกอ(ข้อมูลการปลูก)
การปลูกมะละกอ ขายส่งเมล็ดพันธุ์มะละกอ
เรดโนวาตราศรแดง ฮอแลนด์และแขกดำตราโอเค
พื้นที่ปลูก
     มะละกอสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกสภาพ แต่ที่สำคัญจะต้องเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ ขัง แฉะ เพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่มีความ ทนทาน ต่อการถูกน้ำท่วม ถ้ามีน้ำท่วมโคนต้น เพียง 1-2 วัน จะชะงักการเจริญเติบโตและ อาจตายได้ แต่อย่างไรก็ตามจะขาด น้ำไม่ได้ดังนั้น พื้นที่ที่ จะปลูก มะละกอ ควรเป็นที่น้ำท่วมไม่ถึงและควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำอีกด้วย ถ้าหากเป็นที่ลุ่มควรทำแปลง ปลูกแบบยกร่องสำหรับการเตรียมดินปลูก ก่อนอื่นต้องกำจัดวัชพืชออกให้หมดแล้ว ทำการพรวนดิน อย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งแรกให้ไถดินก้อนโต ๆ ทิ้งให้ตากแดดจนแห้งดีแล้ว จึงไถพรวนย่อยดินอีกครั้ง ถ้าดินปลูกไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ควรใส่ปุ๋ยให้แก่ดิน โดยการปลูกพืชตระกูลถั่วก่อน แล้วไถกลบลง ดินให้เน่าเปื่อยผุพังอยู่ในดิน
     หลุมที่ใช้ปลูกมะละกอควรขุดให้มีขนาดกว้าง ยาว ลึก ประมาณด้านละ 50 เซนติเมตร ดินที่ขุดขึ้นมาจากหลุมให้ปล่อยตากแดด ทิ้งไว้ 7-10 วัน แล้วจึงย่อยให้ละเอียด ผสมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมัก ใบไม้ผุ แล้วจึงกลบดินลงหลุม จากนั้นจึงนำต้นกล้าหรือเมล็ดมะละกอลงปลูกระยะห่าง 3ด3 เมตร 
สำหรับพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ควรทำการปลูกแบบยกร่อง โดยทำเป็นร่องขนาดกว้าง 3-4 เมตร คูน้ำระหว่างร่องกว้างประมาณ 1 เมตร แล้วทำการเตรียมดินและหลุมต่อไป
โรคและแมลง
     มะละกอเป็นพืชที่ปลูกง่าย โตเร็ว ไม่ค่อยมีศัตรูรบกวนมากนัก แต่ก็มีศัตรูบางประเภทที่คอยรบกวนทำลายและแพร่ระบาดได้รวดเร็ว ศัตรูมะละกอที่พบและทำความเสียหายมีทั้งโรคและแมลง สำหรับโรคที่พบมาก คือ โรคใบเน่าและรากเน่า โรคแอนแทรกโนส โรคเน่าของต้นกล้า ส่วนแมลงที่พบมาก คือ ไรแดง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ
การป้องกันกำจัด
1.  โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose) อาการของโรค เป็นแผลรูปกลมเริ่มจากจุดเล็ก ๆ แล้วขยายใหญ่ขึ้น แผลจะเป็นรอยบุ๋มลงไป ต่อมาบริเวณกลางแผลจะเห็นเป็นวงชั้น ๆ สีน้ำตาลถึงดำ ตามอายุแผล อาจเห็นกลุ่มของสปอร์เชื้อราเป็นสีส้ม สาเหตุ เชื้อรา (Colletotrichum gloeosporioides) การป้องกันกำจัดโรค พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช ได้แก่ เบนโนมิล คาร์เบนดาซิม ไออาเบน ดาโซล แมนโคเซบก่อนการเก็บเกี่ยวผล 2-3 ครั้ง จุ่มผลมะละกอในน้ำร้อน หรือน้ำร้อนผสมสารเบนโนมิล หรือไออาเบนดา  
2. โรคใบจุดวงแหวน (Papaya Ring Spot Virus) อาการของโรค ใบมีอาการด่างเหลืองสลับเขียว โดยเฉพาะใบที่อยู่ส่วนบนของยอด ใบอ่อนที่เกิดใหม่จะค่อย ๆ เล็กลง บนผลจะเห็นลักษณะวงแหวนขนาดต่าง ๆ กัน เรียงเป็นวงเห็นได้ชัดเจน สาเหตุ ไวรัส พีอาร์เอสวี (PRSV) การป้องกันกำจัดโรค ปลูกพันธุ์ต้านทานต่อโรค ตอนทำลายต้นที่แสดงอาการของโรครุนแรง อย่าให้ปุ๋ย N มากนัก ปุ๋ยหมักแกลบควรใช้เพาะจะได้แร่ ซิลิก้า เข้าไปด้วยจะทำให้เพลี้ยพาหะโรคเจาะใบอ่อนลำบาก เคมีหรือสมุนไพรไล่เพลี้ยควรใช้บ้างถ้าพบตัวเพลี้ย

แสดงความคิดเห็น
คุณสมบัติ วันที่ประกาศ 2013-09-25