เมล็ดพันธุ์ผัก ต้นกล้า โรงเรือน อุปกรณ์การเกษตร โรคและแมลง อาหารเสริม ผลสด
เมล็ดพันธุ์คุณภาพ






108AGRIEQUIPMENT.COM
DUCKAGRO.COM

โรคพืชที่มักระบาดหน้าฝน

    
  • โรคพืชที่มักระบาดหน้าฝน


ฤดูฝน นอกจากจะเป็นฤดูแห่งความชุ่มชื้นและอุดมสมบูรณ์ ยังจะเป็นช่วงเวลาที่มีการระบาดโรคหลายๆชนิดที่ส่งผลให้เกิดความเสียหาย แก่พืช หรือ ผลผลิตเป็นอย่างมาก ดังนั้นถ้าเรารู้จักที่มาของโรคพืชที่มักจะระบาดช่วงหน้าฝน ก็จะช่วยป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชได้ 


สาเหตุหลักในการเกิดโรคพืชช่วงฤดูฝนมีดังนี้

  1. สภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้นในอากาศ รวมถึงความเป็นกรด ด่างของดิน
  2. เชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ เช่นเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส และอื่นๆ ที่ก่อตัวมาจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง


โดยโรคพืชที่มักระบาดช่วงฤดูฝนมีดังนี้


1.โรคราน้ำค้าง (downy mildew) มีสาเหตุมากจากเชื้อราชนิดหนึ่ง พืชมักมีอาการของโรคมากช่วงที่มีความชื่นในอากาศสูง หนาว น้ำค้างและฝนตกชุด สามารถแพร่ระบาดได้ดีโดย ลม น้ำฝน และเครื่องมือทางการเกษตร เชื้อราเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิ 4-24 องศาเซลเซียส แต่ไม่สู้แสงแดดจัด 


พืชที่มักจะเป็นโรคราน้ำค้าง : แตงกวา แตงโม แตงไท แคนตาลูป เมล่อน บวบ และอื่นๆ 


การป้องกันและรักษา: ดูแลทำความสะอาดแปลงปลูก โดยเก็บซากพืชที่เป็นโรค เผาทำลายทิ้ง, ปลูกพืชหมุนเวียนป้องกันเชื้อโรคสะสมในดินนานๆ, หากพบพืชที่เป็น ให้รีบตัดทำลายทิ้ง เพื่อระงับการระบาด, ลดความชื้นเช่น การเว้นระยะห่างของต้นพืช, เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่สะอาดปลอดโรค, หรือการใช้สารเคมี เช่น         

ฟอรั่มคลุกเมล็ด, โบคุ่ม, เคอร์เซท, เอ็มแปด, ดูมากซ์ ใช้ฉีด


2. โรคเน่าคอดิน (damping-off)  หรือที่มักเรียกกันว่า โรคกล้าตายพราย หรือโรคเหี่ยวเหลืองโดยเชื้อราจะเข้าทำลายพืชในช่วงต้นกล้า ทำให้ลำต้นเน่าและตายลงอย่างรวดเร็ว เส้นใยของราที่เป็นสาเหตุจะแพร่กระจายอยู่ในดิน และเข้าสู่ต้นกล้า เชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคมักติดมากับเมล็ด  หรืออยู่ในดิน น้ำ ฝน


พืชที่มักจะเป็นโรคเน่าคอดิน: ต้นกล้าของพืชชนิดต่างๆ  และอื่นๆ  


การป้องกันและรักษา: ดูแลทำความสะอาดแปลงปลูก โดยเก็บซากพืชที่เป็นโรค เผาทำลายทิ้ง, ปลูกพืชหมุนเวียนป้องกันเชื้อโรคสะสมในดินนานๆ, หากพบพืชที่เป็น ให้รีบตัดทำลายทิ้ง เพื่อระงับการระบาด, ลดความชื้นเช่น การเว้นระยะห่างของต้นพืช, เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่สะอาดปลอดโรค หรือการใช้สารเคมี เช่น เม็ทกรีน, วีเซ่, ไบโอดั๊ก9, คูเรเตอร์, ไรโซเร็ค, ไตรซาน 


3. โรคใบจุด (Alternaria leaf spot) เกิดจากเชื้อราที่ก่อตัวจาก ความชื้นสูง สภาพอากาศร้อนชื้น โดยเฉพาะในฤดูฝน อุณหภูมิประมาณ 25-30 องศาเซลเซียส โดยอาการของโรคจะเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของต้นผัก และทุกระยะการเจริญเติบโตตั้งแต่ต้นอ่อนที่เริ่มงอกจากเมล็ดจนโตเป็นต้นแก่ ลักษณะอาการ ในต้นกล้าอาการขั้นแรกจะปรากฏให้เห็นโดยเกิดเป็นแผลเล็กๆ ลีดำ คล้ายโรคเน่าคอดิน ขึ้นที่ลำต้น โดยถ้าเป็นตั้งแต่ช่วงนี้พืชจะหยุดเจริญเติบโต และถ้าเป็นช่วงต้นแก่จะเกิดแผลจุดขึ้นบนใบ โดยเริ่มจากจุดเซลล์ตายเล็กๆ สีเหลืองขึ้นก่อน ต่อมาจะค่อยขยายโตขึ้นเป็นสีนํ้าตาล เมื่อแผลแห้งจะเกิดจุดเล็กๆ สีนํ้าตาลเข้มหรือดำ ขึ้นเป็นวงค่อนข้างกลมเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ โดยเชื้อนี้สามารถแพร่ระบาด โดยสปอร์ของเชื้อจะสามารถปลิวไปตามน้ำ ลม แมลง และ เครื่องมือการเกษตร มนุษย์ นอกจากนั้นสามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์ ได้ด้วยเหมือนกัน 


พืชที่มักจะเป็นโรคใบจุด: ต้นกล้าของพืชชนิดต่างๆ, กะหล่ำปลี, และอื่นๆ 


การป้องกันและรักษา:  ใช้เมล็ดพันธุ์ที่สะอาดปลอดโรค หากไม่มั่นใจให้ฆ่าเชื้อที่อาจติดมากับเมล็ดก่อน โดยแช่ในนํ้าอุ่น 49 – 50° ซ. นาน 20 – 25 นาที, ทำลายต้นเป็นโรคโดยการขุดถอนไปเผาทิ้ง , ปลูกพืชหมุนเวียนป้องกันเชื้อโรคสะสมในดินนานๆ, หากพบพืชที่เป็น ให้รีบตัดทำลายทิ้ง เพื่อระงับการระบาด, ลดความชื้นเช่น การเว้นระยะห่างของต้นพืช 


4. โรคราสนิมขาวในผักบุ้ง ( White Rust) ด้วยอากาศชื้น และ ฝนตกชุก มักก่อให้เกิด โรคราสนิมขาวในพืช โดยเฉพาะ ผักบุ้ง ซึ่งจะมีลักษณะอาการ เหลืองจางๆที่ด้านบนของใบ ใต้ใบมีตุ่มนูนสีขาวขนาดเล็ก หรือมีปื้นสีขาวขนาดใหญ่โป่งพองออกเป็นปุ่มปม พบได้ทั้งที่ก้านใบและลำต้น หากอาการหนัก แผลจะไหม้ ใบแห้ง และร่วงหล่น 


พืชที่มักจะเป็นโรคราสนิมขาว: ผักบุ้ง และอื่นๆ 


การป้องกันและรักษา: ดูแลทำความสะอาดแปลงปลูก โดยเก็บซากพืชที่เป็นโรค เผาทำลายทิ้ง, ปลูกพืชหมุนเวียนป้องกันเชื้อโรคสะสมในดินนานๆ, หากพบพืชที่เป็น ให้รีบตัดทำลายทิ้ง เพื่อระงับการระบาด, ลดความชื้นเช่น การเว้นระยะห่างของต้นพืช หรือการใช้สารเคมี เช่น ดูมากซ์ 


5.โรคเหี่ยว (verticillium wilt) เกิดอาการเหี่ยวอย่างช้า ๆ ใบที่อยู่โคนต้นเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และร่วง ต่อมาใบจะเหี่ยวทั้งต้นแล้วแห้งตาย โดยมักจะเกิดจากความชื้นที่สูงขึ้น


พืชที่มักจะเป็นเหี่ยว: พืชตะกูลแตง, มะเขือเทศ​, และอื่นๆ 


การป้องกันและรักษา: ดูแลทำความสะอาดแปลงปลูก โดยเก็บซากพืชที่เป็นโรค เผาทำลายทิ้ง, ปลูกพืชหมุนเวียนป้องกันเชื้อโรคสะสมในดินนานๆ, หากพบพืชที่เป็น ให้รีบตัดทำลายทิ้ง เพื่อระงับการระบาด, ลดความชื้นเช่น การเว้นระยะห่างของต้นพืช 



ขอขอบคุณข้อมูลจาก: www.rakbarnkerd.com , www.chiangmainews.co.th, www.thailasetsart.com

www.kasetkaoklai.com, www.home.kku.ac.th, www.ecepost.com 


........................................................................

หากท่านต้องการ ซื้อเมล็ดพันธุ์คุณภาพ อุปกรณ์การเกษตร ทั้งปลีกและส่ง ติดต่อสอบถามได้ที่
บริษัท 108เทคโนฟาร์ม จำกัด
โทร. 092 528 1777
E-mail: [email protected]
www.108technofarm.com
Facebook: www.facebook.com/108technofarm
Line: @108technofarm
IG: 108technofarm
108 เทคโนฟาร์ม


แสดงความคิดเห็น
คุณสมบัติ วันที่ประกาศ 2017-06-01