การแก้ปัญหา ดินเปรี้ยว
|
ดินเปรี้ยวหรือดินกรดจัด เป็นดินที่มีปัญหาเกี่ยวกับความเป็นกรดจัดของดิน โดยทั่วไปมีค่าความเป็นกรด เป็นด่าง ของดินต่ำกว่า 5.5 อาจเกิดจากการขาดธาตุอาหารพืช เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และโมลิบดีนัม เป็นต้น ลักษณะของดินเปรี้ยว ดินเปรี้ยวหรือดินกรดจัดจะมีดินชั้นบนเป็นดินเหนียวสีเทาหรือสีเทาเข้มถึงดำ ลึกประมาณ 20-40เซนติเมตรอาจจะมีจุดประสีนํ้าตาลโดยดินชั้นล่างเป็นดินเหนียวสีนํ้าตาลหรือสีนํ้าตาลปนเทา มีจุดประสีเหลืองปนนํ้าตาลสีแดงหรือสีเหลืองฟางข้าว พืชที่ปลูกบนพื้นที่ดินเปรี้ยวจะมีการเจริญเติบโตช้าสภาพต้นจะเตี้ยแคระแกร็น ใบไหม้ ไม่ตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ย ผลผลิตถดถอยอ่อนแอต่อโรคและแมลง สิ่งที่เราใช้สังเกตลักษณะของดินเปรี้ยว ดินเปรี้ยวส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ปุ๋ยเคมีมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเราใช้เป็นสิ่งสังเกตลักษณะของดินเปรี้ยว หรือจะสังเกตุจากตัวเลขที่ใช้น้ำยาตรวจและเทียบสีโดยค่าที่อยู่ตรงเลข7คือเป็นกลาง มากกว่า 7 เป็นด่าง น้อยกว่า 7 เป็นกรดยิ่งมีค่าน้อยมากเท่าไดก็เป็นกรดมากขึ้นเท่านั้น สาเหตุของการเกิดดินเปรี้ยว ดินเปรี้ยวเกิดจากการทับถมของตะกอนนํ้ากร่อยซึ่งเป็นบริเวณที่เคยได้รับอิทธิพลจากนํ้าทะเลท่วมถึงมาก่อน เช่นบริเวณที่เคยเป็นป่าชายเลนและบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่นํ้าใหญ่ๆ โดยจุลลินทรีย์ในดินจะเปลี่ยนสารประกอบพวกกำมะถันในนํ้าทะเลให้เป็นแร่ไพไรท์ จากนั้นถ้ามีการระบายนํ้าออกไปจนทำให้ดินแห้ง แร่ไพไรท์จะถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นกรดกำมะถันซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ดินเปรี้ยว การปรับปรุงดินเปรี้ยว เป้าหมายเพื่อลดความเป็นกรดและปริมาณสารพิษในดินรวมทั้งป้องกันการเกิดกรดเพิ่มขึ้นควบคู่กันไปกับการเพิ่มเติมธาตุอาหารพืชลงไปในดินเพื่อให้สามารถปลูกพืชได้ผลดี การปรับปรุงดินเปรี้ยวขึ้นอยู่กับสถานการณ์ความจำเป็นและความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่วิธีการปรับปรุงดินเปรี้ยวมีดังนี้ 1. ลดการใช้ปุ๋ยเคมีที่มากเกินความต้องการของพืช โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน(ยูเรีย) 2.ในกรณีที่มีน้ำเพียงพอ ควรระบายน้ำที่มีความเป็นกรดสูงออกจากแปลง แล้วขังน้ำใหม่ ที่มีสภาพความเป็นกรดน้อยกว่าแทน 3.การปรับระดับผิวหน้าดิน ปรับระดับผิวหน้าดินให้มีความลาดเอียงพอที่จะให้น้ำไหลออกสู่คลองระบายน้ำได้ 4.การยกร่องปลูกพืช เป็นวิธีการใช้สำหรับการปลูกพืชไร่ ผัก ผลไม้ หรือไม้ยืนต้น โดยวิธีการนี้จำเป็นต้องมีแหล่งน้ำ ชลประทานเพื่อใช้ขังในร่องและถ่ายเทน้ำได้เมื่อน้ำในร่องเป็นกรดจัด จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึงการเกิดน้ำท่วมในพื้นที่นั้นๆ หากมีโอกาสเสี่ยงสูงก็ไม่ควรจะทำ หรืออาจยกร่องแบบเตี้ยๆเปลี่ยนเป็นปลูกพืชล้มลุกแทนโดยสามารถปลูกหมุนเวียนกับข้าวได้ 5.ปรับปรุงบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ทำได้หลายวิธี ดังนี้ 6.ปลูกพืชคลุมดิน นิยมใช้พืชตระกูลถั่วที่มีคุณสมบัติคลุมดินได้หนาแน่นเพื่อกันวัชพืช ลดการชะล้าง เก็บความชื้นไว้ในดินได้ดี และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน 7.ปลูกพืชหมุนเวียน โดยปลูกพืชหลายชนิดหมุนเวียนในพื้นที่เดียวกัน ควรมีพืชตระกูลถั่ว ซึ่งมีคุณสมบัติบำรุงดินร่วมอยู่ด้วยเพื่อให้การใช้ธาตุอาหารจากดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ขอบคุณข้อมูลจากเว็ป : เกษตรก้าวหน้า ............................................................................................ |
แสดงความคิดเห็น |
วันที่ประกาศ 2018-08-23 |