พริกเน่าก่อนสุก
|
ในช่วงฤดูร้อนที่กำลังจะมาถึงนี้ อยากให้เกษตรกรผู้ปลูกพริกระวังโรคที่จะทำให้พริกของเกษตรกรต้องเน่าก่อนที่จะสุก ซึ่งโรคที่จะทำให้พริกเน่าในฤดูร้อนที่จะมาถึงนี้มีอยู่ด้วยกัน 3 โรคด้วยกัน ได้แก่ โรคกุ้งแห้งแท้ หรือ โรคแอนแทรคโนส อาการที่เกิดจากแมลงศัตรูพืช และโรคกุ้งแห้งเทียม 1.โรคกุ้งแห้งแท้ หรือ โรคแอนแทรคโนส จะเริ่มจากรอยแผลเล็กๆและขยายวงกว้าง เป็นแผลช้ำเหมือนถูกน้ำร้อนลวก แต่ภาพนี้ถูดฉีดพ่นด้วยชุดลาโรคร้ายไปแล้ว แผลที่เป็นรอยช้ำ รอยเน่า จะยุบและแห้งไป โรคนี้ระบาดได้แทบจะทุกฤดู และจะรุนแรงมากๆ ก็ช่วงฤดูฝน และ ฤดูหนาว ซึ่งมีความชื้นสูง น้ำค้างเยอะ ฝนรุนแรง ปัจจัยพวกนี้ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว การระงับโรคจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก แนวทางการป้องกันและกำจัดโรคกุ้งแห้ง 1.ควรให้แคลเซียมแก่พืช ทั้งทางดิน และทางใบ อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความอ่อนแอของผนังเซลที่ผล 2.เมื่อเริ่มมีอาหาร ให้ทำการ เก็บออกทั้งหมด(เฉพาะเม็ดที่เป็น) เพื่อลดอัตราการขยายเชื้อ แล้วฉีดพ่นด้วยสารกำจัดโรค 3.หากเกิดการระบาดอย่างรุนแรง ให้ทำดังนี้ 3.1 เก็บพริกที่เป็น และกำลังเริ่มเป็นทั้งหมดออกไปทิ้งนอกแปลง 3.2 ฉีดพ่นสารกำจัดโรค ให้ทั่วตั้งแต่พื้นบริเวณโคนต้น ในต้น จรดยอด ให้ทั่ว ในช่วงเช้า อันตรา 20-30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร 3.3 จะต้องงดการให้ปุ๋ย หรือฮอร์โมนต่างๆในระหว่างดำเนินการรักษา 3.4 ทำแบบนี้ อย่างน้อย 2 ครั้ง ห่างกัน 3-4 วัน ต่อ 1 ครั้ง 2.หนอน เกิดจากการที่แมลงวันทองมาวางไข่ไว้ตั้งแต่ตอนเป็นเม็ดอ่อนครับ พริกโตขึ้น ไข่ก็ฟักตัว เป็นหนอนที่กินเนื้อพริกอยู่ภายในเมล็ดนั่นเอง *จุดสังเกตุ ที่บริเวณของผลพริก จะมีรูเล็กๆอย่างน้อย 1 จุด ก็สันนิฐานได้เลยทันทีว่าเกิดจากหนอนแมลงวันทอง รอยที่คล้ายการเน่า คือการที่หนอนกินเนื้อของพริกทำให้ผิวบางกว่าส่วนอื่น สีเลยผิดเพี้ยนไป เมื่อฉีกเม็ดออก ก็จะเห็นหนอนอยู่ภายใน แนวทางการป้องกันและกำจัดหนอนแมลงวันทอง หนอนแมงวันทอง คนจะไปแก้กันที่ปลายเหตุคือ กำจัดหนอน แต่ที่จริงแล้วแนวทางการป้องกันที่ดีที่สุด ก็คือ แขวนสารล่อไว้ให้ทั่วบริเวณที่เราปลูก อาจจะแขวนไว้ตามหัวร่อง ท้ายร่อง กลางร่องกะเป็นได้ครับ สัดส่วนตามพื้นที่ สารล่อก็มีหลักๆ2แบบ คือ แบบล่อเพศ และ แบบล่ออาหาร ส่วนการป้องกันอื่นๆ เช่น การปลูกดาวเรือง การใช้ใบกระเพรา หรือวิธีอื่นๆ ก็สุดแล้วแต่สิ่งที่หาได้ หรือประสบการณ์ของแต่ละคนไปครับ 3. โรคกุ้งแห้งเทียม ในส่วนนี้มันก็มีอาการหลายๆรูปแบบนะครับ เช่น เม็ดเหี่ยวฟ่อลงไป หรือรอยจุดแห้งติดเมล็ดด้านใน คือแห้งลงไป ทั้งหมดนี้ สาเหตุส่วนหนึ่งก็เกิดจากการขาดแคลเซียม หรือ แคลเซียมไม่เพียงพอต่อขนาดต้น หรือปริมาณผลนั่นเอง เมื่อประสบสภาพอากาศที่ร้อน หรือแดดที่รุนแรง ผิวก็แห้งลงไป แนวทางการป้องกันและกำจัดโรคกุ้งแห้งเทียม โรคนี้ก็เป็นผลสัมพันธ์กับโรคกุ้งแห้งแท้ ฉะนั้น เราก็ควรที่จะให้แคลเซียมทั้งทางดินและทางใบอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคให้ได้มากที่สุด แคลเซียมนั้นไม่ได้ส่งผลหรือแสดงผลลัพธ์ให้เห็นแบบชัดเจน แต่จะแสลดงผลในรูปแบบที่ต้องสังเกตุถึงเห็นได้คนเลยไม่นิยมกัน แต่เชื้อเถอะครับ มันสำคัญมากๆ กับพืชทุกๆชนิดเลยครับ เมื่อรู้จักโรคแล้วก็อย่าลืมสังเกตุอาการของพริกที่ปลูกให้ดีดี และเมื่อพบว่าพริกเป็นโรค หรือมีอาการที่บอก ก็อย่าลืมป้องกันหรือแก้ไขตามที่ 108เทคโนฟาร์มนำความรู้มาบอกนะจ๊ะ ............................................................................................. |
แสดงความคิดเห็น |
วันที่ประกาศ 2018-03-19 |