วิธีการเพราะเห็ด
|
108 เทคโนฟาร์มของเราได้ยินมาว่า
ในปัจจุบันนี้เกษตรกรส่วนใหญ่หันมาเพาะเห็ดขายกัน วันนี้ 108 เทคโนฟาร์มของเรา
จึงอยากจะนำความรู้เรื่องการเพราะเห็ดมาฝากเกษตรกร ซึ่งหวังว่าจะเป็นประโยชน์ หรือ
แรงบันดารใจให้เกษตรกรหลายๆคนได้ไม่มากก็น้อย การเพาะเห็ดฟางมีหลากหลายรูปแบบโดยแต่ล่ะพื้นที่ก็จะมีวิธีการเพาะที่แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ความถนัดและวัสดุที่มีอยู่ โดยวัสดุที่สามารถนำมาใช้ในการเพาะเห็ดฟางนั้นมีมากมายหลายอย่าง เช่น ฟางข้าว เปลือกบัว กากมันสำปะหลัง ทะลายปาล์ม เปลือก-ซังข้าวโพด ผักตบชวา ขี้ฝ้าย ใส่นุ่น ชานอ้อย และอื่นๆอีกมากมาย เห็ดฟาง ชอบอุณหภูมิ 30-35 องศาเซลเซียส หยุดการเจริญเติบโตที่อุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส และสูงกว่า 42 องศาเซลเซียส ระยะการเติบโตของเส้นใยอุณหภูมิ 32-38 องศาเซลเซียส ความชื้น 80% ช่วงเกิดดอกเห็ดชอบ อุณหภูมิ 28-32 องศาเซลเซียส ความเป็นกรดด่าง pH 6.5-70 ช่วงออกดอกต้องการอากาศบริสุทธิ์ ถ้า CO2 มากว่า 0.2% เส้นใยจะไม่มีการพัฒนาเป็นดอกเห็ด ความเข้มของแสง 50 ลักซ์ ถ้ามากเกินไปดอกเห็ดจะดำ ถ้าน้อยไปดอกเห็ดจะขาว และวันนนี้ 108
เทคโนฟาร์มจึงอยากจะแนะนำวิธีการเพราะเห็ดฟางให้กับเกษตรกร
เพื่อนำไปใช้ในการเพาะเห็ด 1.การเพาะเห็ดฟางแบบเป็นกอง
เริ่มต้นด้วยการเตรียมสถานที่ จากนั้นให้ทำการพรวนดินทิ้งไว้ 3-7 วัน
ขนาดกองขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและวัสดุที่ใช้เพาะ 1.1 ขนาดกองเตี้ย จะมีขนาดประมาณ 30x80x30 ซม. โดยมากวัสดุที่ใช้จะต้องเป็นสิ่งที่ให้ความร้อนสูง เช่น เปลือกมันสำปะหลัง
1.2 ขนาดกองกลาง จะมีขนาดประมาณ 40x1.00x60
ซม. วัสดุที่ใช้เพาะ คือ ฟางข้าว ทะลายปาล์ม 1.3 ขนาดกองสูง จะมีขนาดประมาณ 60x1.20x1.00
ซม. นิยมนำวัสดุเพาะที่ผ่านการเพาะแบบกองเตี้ย กองกลางแล้วนำมาสุมใหม่จนกลายเป็นกองสูง
และในปัจจุบันมีการเพาะแบบกองยาว 601x3.00x60
ซม. ขั้นตอนการทำ นำวัสดุเพาะ ไปแช่น้ำ หรือ ใช้น้ำรถเพื่อเพิ่มความชื้น
แล้วนำวัสดุที่ได้ใส่บล็อก หนาประมาณ 3-4 นิ้ว
แล้วนำเชื้อเห็ดฟางผสมอาหารเช่นลำข้าว โรยรอบข้างห่างประมาณ 1-2 นิ้ว ทำเหมือนกัน
3 ชั้น ชั้นบนสุดโรยเชื้อเต็มหน้า คลุมด้วยวัสดุเพาะหนาประมาณ 2 นิ้ว กดให้แน่น
ทำกองต่อไปห่างจากเดิมประมาณ 20-30 ซม. ฤดูร้อนห่างมาก ฤดูหนาวห่างน้อย
เสร็จแล้วคลุมด้วยพลาสติกเพาะเห็ด บังแสงด้วยใบจาก หญ้าคา หรือซาแรน
ฤดูร้อนต้องทำหลังคาเพิ่ม สูงพอทำงานได้ ประมาณ 6-7 วัน
แย้มดูถ้าพบเชื้อเห็ดเดินเต็มแล้ว จึงนำไม้ไผ่โค้ง
และขยับพลาสติกที่คลุมสูงขึ้นทับบนโค้งเพื่อเพิ่มอากาศบริสุทธิ์ คลุมแสงบางลง
ให้แสงผ่านเข้าถึงกองได้บ้างแต่ไม่มาก ประมาณ 10 วันจะได้ดอกเห็ด 2.การเพาะเห็ดแบบกึ่งโรงเรือน
มีวิธีการทำแบบเดียวกับการเพาะเห็ดฟางแบบเป็นกอง
แต่ทำในภาชนะที่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น เข่ง โอ่ง ไห ถุงปุ๋ย ถุงพลาสติกใหญ่
กระบะ เมื่อเสร็จแล้ว คลุมด้วยพลาสติก นำไปบ่มในร่มใต้ต้นไม้ สุ่มไก่
กระโจมโรงเรือน แล้วปรับให้เหมาะสมกับการออกดอก เมื่อเชื้อเดินเต็ม จึงขยายผ้าพลาสติก
ให้อากาศเข้าดอกเห็ดจะออกดอกข้างเข่ง ตะกร้า 3.วิธีการเพราะแบบโรงเรือนอุตสาหกรรม
ต้องมีการหมักวัสดุเพาะ นิยมใช้ฟางข้าว ทะลายปาล์ม เปลือกและซังข้าวโพด ขี้ฝ้าย
ไส้นุ่น โดยการหมักแบบอับอากาศ โดยทำเป็นกองขนาด 1.5x 1.5x1.2 เมตร หรือเป็นกองขนาดใหญ่ ประมาณ 3-4 วัน ต้องกลับกองเพื่อลดอุณหภูมิ
และความสม่ำเสมอของวัสดุเพาะ
จุลินทรีย์จะย่อยสลายวัสดุเพาะให้เส้นใยเห็ดฟางนำไปใช้เป็นอาหารได้ มีการกลับกอง
3-4 ครั้ง ในแต่ละครั้งมีการเติมอาหารเสริม สารปรับpH เช่น ปูนขาว
ปุ๋ย ยิบซั่ม บางครั้งมีการเติมจุลินทรีย์ประเภทเชื้อแบคทีเรีย
เพื่อป้องกันเชื้อราเขียว วัสดุที่ได้จากการหมัก เราเรียกว่าวัสดุเพาะ
ลักษณะที่ดีต้องไม่มีกลิ่นแอมโมเนีย นุ่ม หอม ขั้นตอนการทำ นำวัสดุเพาะขึ้นชั้นที่ปูด้วยฟางข้าวแช่น้ำพออ่อนตัว สูงประมาณ 4-6 นิ้ว ความชื้นวัสดุเพาะ ประมาณ 65%
อบไอน้ำฆ่าเชื้อที่ 65 องศาเซลเซียส ประมาณ 3-4 ชั่วโมง หลังจากอุณหภูมิลดลงเหลือ
36-38 องศาเซลเซียส จึงใส่เชื้อเห็ดฟางด้านบนวัสดุเพาะ
ช่วงแรกเห็ดฟางต้องการอุณหภูมิ 32-38 องศาเซลเซียส เลี้ยงเชื้อประมาณ 5 วัน
ความชื้นประมาณ 80% หลังจากนั้นลดอุณหภูมิลงให้เหลือประมาณ 28-32 องศาเซลเซียส
ระบายอากาศเสียออก รดน้ำรอบๆโรงเรือนและใต้ชั้นเพิ่มแสง
เส้นใยเห็ดฟางจะเริ่มจับตัวเป็นตุ่มเล็กๆและพัฒนาเป็นดอกเห็ด ในแต่ล่ะวิธีในการปลูกนั้น
มีข้อดีข้อเสียในตัวของมันเอง เกษตรกรจึงควรเลือกใช้วิธีการปลูกตามความเหมาะสมของพื้นที่
และวัสดุปลูกที่เรามี ............................................................................................. หากท่านต้องการซื้อเมล็ดพันธุ์คุณภาพ อุปกรณ์การเกษตร ทั้งปลีกและส่ง ติดต่อสอบถามได้ที่ บริษัท 108เทคโนฟาร์ม จำกัด โทร. 092 528 1777 E-mail: [email protected] www.108technofarm.com Facebook: www.facebook.com/108technofarm Line: @108technofarm IG: 108technofarm 108 เทคโนฟาร์ม |
แสดงความคิดเห็น |
วันที่ประกาศ 2017-10-28 |