เมล็ดพันธุ์ผัก ต้นกล้า โรงเรือน อุปกรณ์การเกษตร โรคและแมลง อาหารเสริม ผลสด
เมล็ดพันธุ์คุณภาพ






108AGRIEQUIPMENT.COM
DUCKAGRO.COM

วิธีกู้ดินหลังน้ำท่วม

    
  • วิธีกู้ดินหลังน้ำท่วม
น้้าท่วมเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในภาคต่างๆของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภาคกลาง สภาพพื้นที่ การเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากน้้าท่วม ผิวหน้าดินถูกชะล้างและมีตะกอนดินขนาดเล็กที่ถูกพัดพามากับน้้าตกทับถมอยู่ บริเวณผิวดินและอุดตามช่องว่างในดิน ทำให้ดินมีปัญหาเกี่ยวกับการระบายน้้าและอากาศ โดยเฉพาะในแหล่งชุมชน แปลงที่มี ต้นพืช เศษพืช จำนวนมาก ซึ่งเมื่อเกิดน้ำท่วมขังเป็นเวลานานจะเกิดปัญหาน้ำเน่าเสีย มีปัญหาต่อการดำเนินชีวิต และการ เพาะปลูกพืช ลักษณะการเกิดเช่นนี้จะไม่เหมือนกับการตกทับถมของตะกอนริมฝั่งแม่น้ำ(พื้นที่น้ำไหลทรายมูล) ที่เกิดเป็น ประจำทุกปี ที่มีน้้ำหลาก ไหล พัดพาตะกอน และธาตุอาหารพืชจากที่อื่นมาตกทับถม ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ผลเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วมขัง 
1. ขณะน้ำท่วมประสิทธิภาพการดูดน้ำและแร่ธาตุต่างๆ ของพืชลดลง ท้าให้ต้นไม้ขาดน้ำและธาตุอาหาร 
2. ถ้าท่วมนาน ๆ ไม้ผลยืนต้นบางชนิดอาจจะล้มหรือตายได้ (ซึ่งถ้าเป็นพืชผัก พืชไร่ พืชล้มลุก หรือข้าว จะเน่าและตาย ภายในไม่กี่วัน) 
3. น้ำท่วมทำให้ดินมีการระบายอากาศไม่ดี ทำให้รากไม้ผลขาดออกซิเจนที่จำเป็นต้องใช้ในการหายใจ และมีการสะสม ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น 
4. ขณะน้ำท่วมอินทรียวัตถุในดินเศษพืชและซากสัตว์ต่าง ๆ จะถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายโดยกระบวนการไม่ใช้อ๊อกซิเจน อาจท้าให้เกิดก๊าชพิษที่เป็นอันตรายต่อรากพืช โดยเฉพาะพืชผัก พืชไร่ หรือไม้ผล ได้แก่ ก๊าซฟอสฟีน มีเทน และก๊าชไข่เนา ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุให้เกิดโรครากดำ รากเน่า หรือโคนเน่า เป็นต้น 
การใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่เกิดน้ำท่วมเพื่อการปลูกพืช โดยเฉพาะไม้ยืนต้น ไม้ผลยืนต้น และพืชผัก จำเป็น ต้องมีการ จัดการดินที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตรอย่างได้ผลดี โดยควรดำเนินการดังนี้


การจัดการดินเพื่อปลูกผักหลังน้ำท่วม 
1. โรยปูนขาว ปูนมาร์ล หรือหินปูนฝุ่น อัตรา 200-500 กก./ไร่ ขณะที่ดินยังมีความชื้นเพื่อให้ปูนออกฤทธิ์ได้ดี การใส่ ปูนจะช่วยฆ่าเชื้อโรคในดิน และทำให้ดินร่วนซุยง่ายขึ้น พร้อมฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพ พด.6 หรือ พด.6 เพื่อบำบัดและฟื้นฟูดิน จึงยกร่องและเตรียมดินตามปกติ 
2. ในพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม ภายในแปลงอาจยกร่องเพื่อปลูกพืช โดยขุดดินจากคูน้ำมาถม/เกลี่ยเป็นพื้นที่เพาะปลูก หรือใช้ รถแทรกเตอร์ติดผล 3 ไถดึงดินขึ้นเป็นสันร่อง มีร่องระบายน้ำอยู่ด้านข้าง สำหรับพื้นที่ดอนที่มีการระบายน้ำดี ไม่จำเป็นต้อง ยกร่อง เพียงแต่แบ่งเป็นแปลงย่อยๆ ขนาดแปลงก็แล้วแต่ว่าจะปลูกผักชนิดใด จากนั้นเตรียมดิน โดยไดดะด้วยผาล 3 และ พรวนดินด้วยจอบหมุนหรือผาล 7 ให้ดินเหมาะสมส้าหรับเพาะกล้าหรือปลูกผักต่อไป 
3. ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพจานด่วน (ที่ขยายเชื้อจุลินทรีย์ พด.3 กับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า แกลบ และรำข้าวแล้ว) อัตรา 100 กก./ไร่ โดยหว่านให้ทั่วพื้นที่ที่จะปลูกผัก ก่อนเตรียมดินครั้งสุดท้าย หรือก่อนปลูกผัก เพื่อควบคุมหรือท้าลาย เชื้อจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืช 
4. ก่อนหรือหลังการปลูกผัก อาจปรับปรุงบ้ารุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด โดยใช้พืชตระกูลถั่วชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น ปอเทือง ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม หรือถั่วเขียว ในอัตราเมล็ด 8 – 10 กก./ไร่ เมื่อเริ่มออกดอกก็ทำการไถกลบ ส่วนถั่วเขียว ถั่วพุ่มด้า สามารถ เก็บเมล็ดขายก่อนจึงไถกลบเศษซากพืชลงดิน ซึ่งพืชตระกูลถั่วจะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินที่ค่อนข้างแน่นทึบ และยังช่วย ให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ดีขึ้น หลังไถกลบ 10 – 15 วัน เตรียมแปลงปลูกผักได้ตามปกติ 

การใช้ปุ๋ยในแปลงพืชผัก 
การใช้ปุ๋ยในพืชผักควรใช้ปุ๋ยหมักหรือคอกร่วมกับสารเร่ง พด.3 หรือปุ๋ยหมักชีวภาพจานด่วน เพื่อป้องกันโรครากเน่า โคนเน่า (ซึ่งอาจคลุกเคล้าด้วยแร่โดโลไมท์ ยิปซั่ม หินฟอสเฟต รำข้าว แกลบดำและน้ำหมักชีวภาพสูตร พด.2 เพื่อเสริม ประสิทธิภาพของปุ๋ยดังกล่าวให้ดียิ่งขึ้น) โดยใช้ปุ๋ยหมักดังกล่าว 1-3 ตัน/ไร่ โดยหว่านรองพื้นก่อนเตรียมดินครั้งสุดท้าย หรือ รองก้นหลุมก่อนปลูกผัก เมื่อผักเริ่มเจริญเติบโตให้ใช้น้ำหมักชีวภาพ พด.2 อัตรา 30-50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 3–7 วัน เพื่อเร่งการเจริญเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผักกินใบ ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตรและอัตราที่ เหมาะสม หากทำได้ตามนี้จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจากการซื้อปุ๋ยเคมีและสารเคมีป้องกันก้าจัดศัตรูพืชลงได้มาก

เพิ่มเติมสูตรน้ำหมัก 
น้ำหมักชีวภาพ พด.2 เป็นน้ำหมักชีวภาพที่ได้จากสกัดน้ำเลี้ยงของเซลล์พืชและหรือเซลล์สัตว์โดยใช้น้ำตาล ด้วยจุลินทรีย์ทั้งที่ต้องการและ ไม่ต้องการอากาศในการย่อยสลาย ท้าให้ได้น้ำสกัดชีวภาพสีน้ำตาลใสถึงด้า มีองค์ประกอบของคาร์โบไฮเดรต โปรตีน กรดอะมิโน ฮิว มิกแอซิด ฮอร์โมน วิตามิน และจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มากมาย จึงเป็นแหล่งธาตุอาหารพืช และฮอร์โมน ท้าให้พืชแข็งแรง ช่วยเร่ง การเจริญเติบโต การติดดอกออกผล โดยใช้ร่วมกับปุ๋ยที่ให้ทางดิน ขั้นตอนและวิธีการท้า (ในถังขนาด 120 ลิตร) ละลายกากน้ำตาล 30 กก. ร้าข้าว 1 กก. น้ำหรือน้ำมะพร้าว 40 ลิตร พร้อมสาร เร่ง พด.2 2 ซอง น้าวัสดุหมัก คือ ปลา และ หรือ หอยเชอรี่ ผัก ผลไม้ ที่หั่นหรือบดแล้ว รวม 70-80 กก. ในน้ำที่ละลาย กากน้ำตาลและสารเร่งไว้แล้ว เติมน้ำให้ท่วม(เพื่อคนได้สะดวก) แต่ต้องต่้ากว่าขอบปากถังลงมาอย่างน้อย 20 ซม. คลุกเคล้า/คน ส่วนผสมดังกล่าวให้เข้ากัน คนบ่อยๆ เพื่อให้วัสดุหมักย่อยสลายเร็วขึ้น 1 เดือนขึ้นไปจึงกรองน้าไปใช้ อัตราและวิธีการใช้ หมักดิน ตอซัง โดยผสมน้ำฉีดพ่น สาดหรือหยดที่ทางน้ำเข้านา อัตรา 5 ลิตร/ไร่ ขลุบหมักทิ้งไว้ 10-15 วัน เพื่อช่วยสลายฟางข้าวให้เปื่อยยุ่ย ไถพรวนได้ง่าย (**หลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้วจะเหลือตอซังฟางข้าวในนาประมาณ 1.0 -1.3 ตัน/ไร่ **) อาจหยดที่ทางน้้าเข้านา 5 ลิตร / ไร่ / ครั้ง ระยะข้าวแตกกอ(35-40วัน) และเมื่อข้าวเริ่มออกรวง(60-75 วัน) หรือผสมน้ำฉีด พ่นให้ทางใบอัตรา 50-80 ซีซี /น้ำ 20 ลิตร เมื่อข้าวอายุประมาณ 35-40 และ 60-75 วัน ในแปลงพืชไร่ เมื่ออายุ 20, 40 และ 60 วัน ในแปลงไม้ผล ทุก 15-30 วัน * ในแปลงพืชผัก ทุก 3-7 วันโดยผสมให้เจือจางกว่าใช้ในนาข้าวหรือพืชไร่ คือ 30- 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ** มีเกษตรกรหลายราย น้าน้้าหมักชีวภาพ พด.2 อัตรา 2-5 ลิตร/น้ำ 200 ลิตร ไปผสมกับยาฆ่าหญ้า คุม หญ้า อัตราปกติ ฉีดพ่นในแปลงพืชไร่ ช่วยให้การคุมหรือฆ่าหญ้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น ดินร่วนซุย พืชที่ปลูกมีรากมาก พืชดูดซึมปุ๋ย ได้ดีขึ้น 

ปุ๋ยหมักชีวภาพจานด่วน (สูตร พด.1, 2, 3 และ พด.12)  
เป็นปุ๋ยที่ได้จากการน้าวัสดุอินทรีย์ชนิดต่างๆมาหมักใช้อย่างเร่งด่วน โดยใช้สารเร่งจุลินทรีย์ พด.ฯร่วมด้วย ประโยชน์ท้าให้ดินร่วนซุย เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน เชื้อบาซิลลัสและไตรโครเดอร์มาใน พด.3 ช่วยป้องกันโรครากเน่า โคนเน่า ในพืชผัก ไม้ผล รากแข็งแรง มีปริมาณมาก ช่วยให้ดินปลดปล่อยธาตุอาหารเป็นประโยชน์ให้พืชดีขึ้น วัสดุที่ใช้ แกลบดิบและแกลบด้ารวม 6 กระสอบปุ๋ย +มูลสัตว์ 10 กระสอบปุ๋ย + ร้าละเอียด 6 กก.+ กากน้ำตาล 1 กก. + สารเร่ง พด.1 + พด.3 อย่างละ 1 ซอง+ น้ำหมักชีวภาพ 3 ลิตร + น้ำหรือน้ำมะพร้าว 200-250 ลิตร วิธีท้า คลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากัน ราดน้ำที่ผสมสารเร่ง พด.1 พด.3 กากน้ำตาล และน้ำหมักชีวภาพที่ผสมทิ้งไว้นาน 10 นาที โดย ราดบนกองวัสดุคลุกเคล้าเข้ากันให้ชุ่ม ความชื้นประมาณ 70 % (ก้าแล้วมีน้ำไหลง่ามมือเล็กน้อย) กองวัสดุให้สูง 50 ซม. คลุมด้วย กระสอบป่าน ผ้ากระสอบปุ๋ย หรือกรอกใส่กระสอบปุ๋ย ตั้งไว้ในร่มเป็นเวลา 7-15 วัน ก่อนน้าไปใช้ จากนั้น อาจใช้เป็นวัสดุเริ่มต้นในการท้าปุ๋ยชีวภาพ พด.12 โดยละลาย พด.12 จ้านวน 1 ซอง และน้ำ แล้วคลุกเคล้าให้ทั่ว/ให้ ชุ่ม แล้วกองหรือกรอกใส่กระสอบปุ๋ย วางไว้ในที่ร่ม ก่อนน้าไปใช้อย่างน้อย 4 วัน ก่อนน้าไปใช้ อัตราและวิธีการใช้ พืชไร่ นาข้าว พืชผัก หรือไม้ดอกไม้ประดับ 200 – 300 กก./ไร่ โดยหว่านให้ทั่วแปลงก่อนไถพรวน / ท้า เทือก หรือใส่ระหว่างแถวหลังปลูกพืช ไม้ผลหรือไม้ยืนต้น 1-3 กก./ต้น โดยรองก้นหลุมหรือรอบทรงพุ่มทุกปี ในแปลงเพาะกล้า 1- 2 กก./พื้นที่ 10 ตร.เมตร โรยแล้วคลุกเคล้าให้ทั่วแปลงเพาะกล้า ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี

ใครที่เพิ่งผ่านอุทกภัยน้ำท่วมมา สามารถนำวิธีการเหล่าไปใช้ได้นะจ๊ะ ซึ่ง 108เทคโนฟาร์มหวังว่าวิธีการเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยสำหรับเกษตรไม่มากก็น้อย

.............................................................................................
หากท่านต้องการซื้อเมล็ดพันธุ์คุณภาพ อุปกรณ์การเกษตร ทั้งปลีกและส่ง ติดต่อสอบถามได้ที่
บริษัท 108เทคโนฟาร์ม จำกัด
โทร. 092 528 1777
E-mail: [email protected]
www.108technofarm.com
Facebook: www.facebook.com/108technofarm
Line: @108technofarm
IG: 108technofarm
108 เทคโนฟาร์ม

แสดงความคิดเห็น
คุณสมบัติ วันที่ประกาศ 2017-12-19