เมล็ดพันธุ์ผัก ต้นกล้า โรงเรือน อุปกรณ์การเกษตร โรคและแมลง อาหารเสริม ผลสด
เมล็ดพันธุ์คุณภาพ






108AGRIEQUIPMENT.COM
DUCKAGRO.COM

วิธีปลูกถั่วพุ่มไร้ค้าง

    
  • วิธีปลูกถั่วพุ่มไร้ค้าง

ถั่วฝักยาวอีกหนึ่งชนิดที่เกษตรกรกำในปัจจุบันกำลังให้ความสน คือ ถั่วพุ่ม หรือที่รู้จักกันในชื่อ ถั่วฝักยาวไร้ค้าง ในวันนี้เราจะมาบอกเคล็ดลับ และวิธีปลูกถั่วพุ่มไร้ค้างที่จะทำให้เกษตรกรสามารถปลูกแล้วได้ถั่วที่มีคุณภาพ และได้ราคาสูงที่สุด ซึ่งวิธีการจะเป็นอย่างไร ลองไปอ่านกันเลย


ถั่วฝักยาวไร้ค้าง คือถั่วฝักยาวชนิดหนึ่งที่ถูกปรับปรุงพันธุ์ จนกระทั่ง ไม่จําเป็นต้องการ ใช้ค้างในการปลูก จุดประสงค์ที่สําคัญ ก็คือลดค่าใช้จ่าย ในส่วนของการทําค้างให้ถั่วฝักยาว และความสะดวก ในการปลูกถั่วชนิดนี้ ดินที่เหมาะสม คือ ดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี มีธาตุอาหารเช่น ฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมอยู่อย่างเพียงพอ มีระดับความเป็นกรด-ด่าง(พี.เอช) อยู่ระหว่าง 5-6.5

การเตรียมดิน

เหมือนกับการปลูกพืชผักทั่วๆ ไป คือ มีการไถตากดินทิ้งไว้เพื่อให้วัชพืชตาย แล้วจึงไถพรวนให้ร่วนซุย ก่อนการเตรียมดินครั้งสุดท้ายควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตรา 20 กก./ไร่ โดยหว่านก่อนการไถพรวน


การปลูก

ใช้ระยะแถว 50 เซนติเมตร ระยะต้น 30 เซนติเมตร หยอดหลุมละ 1-2 เมล็ด แล้วถอนแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้น (ห้ามเอาไว้เกิน 1 ต้นเป็นอันขาด หลังจากปลูกได้ 15 วัน ถ้าไม่ถอนแยกจะทำให้ลำต้นไม่ค่อยแข็งแรง และเมื่อมีลมพัดลำต้นจะเสียดสีกันทำให้เกิดแผล และเน่าตายในที่สุด)


อัตราเมล็ดพันธุ์และความลึกในการหยอดถั่วฝักยาวไร้ค้าง


- ถ้าปลูกระยะ 30x50 เซนติเมตร จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 3 กก./ไร่


- ถ้าปลูกระยะ 20x50 เซนติเมตร จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 3.5 กก./ไร่


ถ้าดินปลูกเป็นดินเหนียวควรปลูกตื้นกว่าดินทราย ถ้าดินมีความชื้นพอดีควรปลูกลึกประมาณ 2-3 เซนติเมตร ก็พอ ถ้าดินมีความชื้นต่ำ อาจปลูกลึก 3-5 เซนติเมตร จึงจะทำให้เมล็ดงอกได้ดี


การดูแลรักษาถั่วฝักยาวไร้ค้าง


การให้น้ำ

จะให้น้ำก่อนปลูกหรือหลังปลูกก็ได้ อย่าให้น้ำจนเปียกแฉะ เพราะอาจทำให้เกิดโรคโคนเน่าได้ การให้น้ำแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับความชื้นในดิน ถ้าดินมีความชื้นอยู่ ไม่ต้องให้น้ำ


แมลงที่สำคัญ

เพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคใบด่าง (ไวรัส) จะสังเกตได้ง่ายถ้าปรากฏว่ามีมดดำ หรือมดคันไฟไต่อยู่ในแปลงหรือตามต้นถั่วแสดงว่าเพลี้ยอ่อนจะเริ่มมา ให้รีบพ่นสารเคมีก่อนที่เพลี้ยอ่อนจะปรากฏ


การใส่ปุ๋ย

ควรใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่เมื่อเตรียมดินปลูก อัตรา 20 กก./ไร่ และครั้งที่สองใส่เมื่อปลูกได้ 3 สัปดาห์ การใส่ครั้งที่ 2 ควรเปิดร่องห่างต้น 15-20 เซนติเมตร ใช้สูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตรา 40 กก./ไร่ โดยโรยลงไปในร่องแล้วกลบ พร้อมกับการกลบโคนต้น เพื่อป้องกันต้นล้ม


การกำจัดวัชพืช

หลังปลูกให้ฉีดสารป้องกันวัชพืชแลสโซก่อนงอกจะป้องกันได้ 2-3 สัปดาห์ โดยใช้อัตรา 450 ซีซี. ผสมน้ำ 60 ลิตร พ่นหลังปลูก ในขณะดินยังมีความชื้นอยู่ ส่วนการกำจัดวัชพืชหลังงอก ควรระวังอย่าให้ถูกลำต้น เพราะจะทำให้ลำต้นเป็นแผลและเน่าตายในที่สุด


การเก็บเกี่ยว

สามารถเก็บได้เมื่ออายุ 42-45 วัน หลังปลูก และจะเก็บได้เรื่อยๆ ทุกๆ 5-7 วัน หลังจากเก็บฝักสดชุดแรกควรพ่นสารป้องกันแมลงและหนอนมาเจาะทำลายต้นและดอก ถั่วไร้ค้างสามารถเก็บผลผลิตได้ 3-4 ครั้ง เมื่อเก็บฝักหมดควรไถกลบเพื่อให้เป็นปุ๋ยบำรุงดินได้อีก


การปลูกถั่วพุ่มถือเป็นพืชทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการปลูกถั่วฝักยาวขาย แต่ต้องการลดต้นทุนในการทำค้าง หรือการขึ้นค้างถั่ว ซึ่งวิธีการที่เราบอกไปนั้น อาจจะไม่ใช้วิธีที่ดีที่สุด แต่เชื่อว่าจะสามารถทำให้เกษตรกรมีผลผลิตที่งามมากขึ้น และทำให้รายได้เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.matichon.co.th

.............................................................................................
หากท่านต้องการซื้อเมล็ดพันธุ์คุณภาพ อุปกรณ์การเกษตร ทั้งปลีกและส่ง ติดต่อสอบถามได้ที่
บริษัท 108เทคโนฟาร์ม จำกัด
โทร. 092 528 1777
E-mail: [email protected]
www.108technofarm.com
Facebook: www.facebook.com/108technofarm
Line: @108technofarm
IG: 108technofarm
108 เทคโนฟาร์ม


แสดงความคิดเห็น
คุณสมบัติ วันที่ประกาศ 2018-02-22