เมล็ดพันธุ์ผัก ต้นกล้า โรงเรือน อุปกรณ์การเกษตร โรคและแมลง อาหารเสริม ผลสด
เมล็ดพันธุ์คุณภาพ






108AGRIEQUIPMENT.COM
DUCKAGRO.COM

เคล็ดลับ ฟื้นฟูสุขภาพดิน

    
  • เคล็ดลับ ฟื้นฟูสุขภาพดิน

เป็นที่รู้กันว่าดินที่มีสภาพร่วนซุยเป็นดินที่เหมาะสำหรับปลูกพืชมากที่สุดเพราะช่วยให้รากชอนไชหาน้ำและอาหารได้สะดวก

ดังนั้นดินที่ดีนั้นควรมีช่องว่างให้น้ำและอากาศแทรกตัวอย่างพอเหมาะ มีความเป็นกรดเป็นด่างที่พอดี แต่หากดินในสวนที่เราต้องการปลูกพืชไม่ได้มีสภาพดังกล่าว เช่น เกิดปัญหาดินแข็ง ดินขาดธาตุอาหาร ดินเหนียว ดินลูกรัง ดินกรด ก็จำเป็นต้องปรับปรุงฟื้นฟูดินให้เหมาะสำหรับปลูกต้นไม้ต่อไป ซึ่งเทคนิคง่ายๆในการปรับปรุงดินทำได้ดังนี้

ปรับปรุงดินด้วยวัสดุธรรมชาติ

วัสดุจากธรรมชาติ เช่น เปลือกถั่ว ฟางข้าว ใบไม้แห้ง ปุ๋ยอินทรีย์ต่าง ๆ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด คือตัวเลือกชั้นดีที่หาได้ง่ายและราคาไม่แพง ในพื้นที่ที่มีดินแข็งหรือดินลูกรังให้ขุดดินแล้วผสมคลุกเคล้าวัสดุเหล่านี้ลงไปเพื่อช่วยเพิ่มช่องว่างในดินและทำให้ร่วนซุยขึ้น  ในปุ๋ยอินทรีย์ยังมีธาตุอาหารที่ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดินได้อีกด้วย สำหรับฟางข้าวนั้นให้หมักไว้ในดินแล้วรดปุ๋ยอินทรีย์น้ำจะช่วยให้ฟางย่อยสลายเร็วขึ้น

ปรับปรุงดินด้วยวิธีคลุมดิน

หลักการคล้ายกับข้อแรกเพียงแต่ไม่ต้องขุดและผสมวัสดุลงไปในดินแต่ใช้วัสดุนั้นคลุมดินเพื่อช่วยรักษาความชื้นเช่นฟางข้าวแกลบ กาบมะพร้าวสับหญ้าแห้งใบหญ้าแฝกหรือปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน วัสดุคลุมดินจะช่วยป้องกันการชะล้างหน้าดินยามรดน้ำ ลดการสูญเสียธาตุอาหารพืชออกไปรักษาความชื้นในดินได้ดีทำให้รากพืชสามารถลงไปได้ลึกทีละน้อย ดินจึงมีโครงสร้างดีขึ้นทั้งยังเกิดจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์มากขึ้นด้วย และเมื่อวัสดุคลุมดินธรรมชาติเหล่านี้ย่อยสลายก็จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างดินและเพิ่มธาตุอาหารให้แก่พืชที่ปลูกต่อไป

การใช้พืชตระกูลถั่ว

ในการฟื้นฟูดินซึ่งเกษตรกรนิยมใช้คือหลังจากเก็บเกี่ยวพืชไปแล้วจะตากดินไว้ระยะหนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อโรคและแมลงศัตรูพืชที่ตกค้างอยู่ในดิน จากนั้นจึงปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพุ่ม ปอเทือง โสน ถั่วพร้า ถั่วแปบ คลุมดินแล้วไถกลบหรือตัดคลุมดินช่วงที่เริ่มออกดอก (ประมาณ 50-60 วันหลังปลูก หากไถกลบจะช่วยให้ย่อยสลายได้รวดเร็วขึ้น) พืชเหล่านี้ไม่เพียงแต่ทำให้ดินร่วนซุยเท่านั้นแต่ยังอุดมด้วยธาตุไนโตรเจนซึ่งเกิดจากเชื้อไรโซเบียมที่มักอยู่ในปมรากถั่วทำหน้าที่ตรึงไนโตรเจนในอากาศมาสร้างเป็นสารประกอบไนโตรเจนไว้ในดิน หากต้องการให้ได้ผลดียิ่งขึ้นก็ใส่เชื้อไรโซเบียมลงไปเพิ่มเติม

ไส้เดือนดิน

ไส้เดือนดินมีความสำคัญมากต่อระบบนิเวศเพราะทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรียสารในดิน รวมทั้งการเคลื่อนที่ของไส้เดือนดินยังเป็นการพรวนดินทำให้ดินมีการระบายน้ำและอากาศดีขึ้น ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช และเป็นตัวชี้วัดการปนเปื้อนของสารพิษต่างๆ ในดินได้ดี

แก้ดินกรด

ดินกรดคือดินที่มีค่า pH ต่ำกว่า 7 นอกเหนือไปจากการตรวจวัดดินด้วยอุปกรณ์ทดสอบแล้วยังมีข้อสังเกตเบื้องต้นง่าย ๆ ว่าดินมีสภาพเป็นกรดหรือไม่ก็คือให้สังเกตว่าต้นไม้ของเรามีการเจริญเติบโตช้าลง ให้ผลผลิตน้อยลง แสดงอาการเหี่ยวเหมือนขาดน้ำเพราะรากไม่สามารถเจริญเติบโตในดินได้ตามปกติ รวมทั้งยังแสดงอาการขาดธาตุฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และแคลเซียม หรือพบการแพร่ระบาดของโรคพืชเป็นประจำและมากขึ้น ดินกรดเกิดได้เองตามธรรมชาติทั้งจากการชะล้างละลายธาตุที่เป็นด่างออกไปจากดินพืชดูดเอาธาตุที่เป็นด่างออกไปแล้วปลดปล่อยกรดลงไปแทนที่หรืออาจเกิดจากการใช้ปุ๋ยเคมีหรือสารเคมีที่มีสารกำมะถันเป็นองค์ประกอบรวมทั้งเกิดจากฝนกรดในพื้นที่ที่อยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรมเป็นต้น ดินกรดมีผลต่อการปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ลงสู่ดิน รวมทั้งพืชไม่สามารถดูดซึมแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ได้ แก้ไขโดยใส่วัสดุปูนชนิดต่างๆ เช่นปูนมาร์ลหรือหินปูนฝุ่น(หินปูนบด) นิยมใช้กับนาข้าว ส่วนปูนโดโลไมต์หรือปูนขาวใช้กับไม้ผล นอกจากนี้ยังแก้ไขโดยใส่อินทรียวัตถุลงไปในดินเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซับธาตุอาหารในดิน และการใช้วัสดุคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นและหน้าดินร่วมด้วยได้เช่นกัน

............................................................................................
หากท่านต้องการซื้อเมล็ดพันธุ์คุณภาพ อุปกรณ์การเกษตร ทั้งปลีกและส่ง ติดต่อสอบถามได้ที่
บริษัท 108เทคโนฟาร์ม จำกัด
โทร. 092 528 1777
E-mail: [email protected]
www.108technofarm.com
Facebook: www.facebook.com/108technofarm
Line: @108technofarm
IG: 108technofarm
108 เทคโนฟาร์ม


แสดงความคิดเห็น
คุณสมบัติ วันที่ประกาศ 2019-05-07