เมล็ดพันธุ์กระเจ๊ยบ(ข้อมูลการปลูก)
|
เมล็ดพันธุ์กระเจ๊ยบขายส่งเมล็ดพันธุ์กระเจี๊ยบ,กระเจี๊บเขียว,กระเจี๊นบแดง(ข้อมูลการปลูก)ตราศรแดง,ตราเสือดาว,ตราสิงโต การเตรียมแปลง กระเจี๊ยบเขียวเจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินร่วนระบายน้ำดี ไม่ชอบความชื้นมากเกินไป ในกรณีที่ระดับน้ำใต้ดินสูงหรือปลูกในฤดูฝนต้องยกร่องสูง การเตรียมดินมีความสำคัญมาก เนื่องจากระยะเวลาเก็บเกี่ยว ผลผลิตนานถึง 6 เดือน ดินปลูกต้องร่วนซุยไม่แน่น การพรวนดินต้องลึก ใส่อินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก มูลเป็ด มูลไก่ ฯลฯ และควรใส่ปูนขาว เพื่อปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดินให้เหมาะสม การเตรียมแปลงปลูกและการปลูกแบบไร่คือปลูกในสภาพพื้นที่ซึ่งเคยปลูกอ้อยหรือปลูกข้าวโพดอ่อนไม่มีร่องน้ำ ดินร่วนปนทรายมีการระบายน้ำดี การเตรียมแปลงใช้แทรกเตอร์ขนาดใหญ่ 1-2 ครั้ง แล้วยกร่องไถดิน ตากดิน 3-5 วัน ไถครั้งที่ 2 พรวนดิน แล้วยกร่องด้วยแทรกเตอร์ ยกร่องกว้าง 75 เซนติเมตร (ให้น้ำแบบร่อง) ใช้จอบปรับร่องให้เสมอเพื่อน้ำจะได้เข้าแปลงได้ดี ใช้จอบตีหลุมซึ่งหลุมปลูกจะอยู่ต่ำกว่าขอบแปลงประมาณ 1 คืบ ปลูกแถวคู่ ระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร พื้นที่ 1 ไร่ เตรียมหลุมปลูก 8,480 หลุม ก่อนปลูกควรคลุกเมล็ด เพื่อป้องกันโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ เช่น โรคฝักจุดหรือฝักลายโดยเฉพาะเมล็ดพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยเอาเมล็ดพันธุ์มาผึ่งให้แห้งพอหมาดคลุกด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดโรคในกลุ่มของเบนโนมิลและไทแรม เช่น เบนเลทที อัตรา 10 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม หรือสาวในกลุ่มไทอะเบนดาโซน เช่น พรอนโต อัตรา 120 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม การให้น้ำ กระเจี๊ยบเขียวชอบความชื้นปานกลาง ในช่วงฤดูหนาวและร้อนควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรปล่อยให้แห้ง โดยเฉพาะในช่วงออกดอก และติดฝักปริมาณการติดฝักจะขึ้นกับการปฏิบัติดูแลรักษาเป็นหลัก มากกว่าขึ้นกับพันธุ์โดยเฉพาะการให้น้ำในช่วงนี้ควรหมั่นรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การเจริญเติบของต้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ฝักมีคุณภาพดี และมีปริมาณฝักที่ได้สูง ถ้าขาดน้ำผลผลิตจะต่ำ ฝักเล็กคดงอ ไม่ได้คุณภาพ การให้ปุ๋ย เนื่องจากระยะเวลาในการปลูกยาวนานมาก ดังนั้นการใส่ปุ๋ยจึงต้องให้เพียงพอจึงจะทำให้ฝักตกและคุณภาพดี ในพื้นที่ที่มีอินทรีย์วัตถุสูง มีความอุดมสมบูรณ์ดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะแปลงที่เคยปลูกผักกินใบมาก่อน ควรใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพราะกระเจี๊ยบเขียวมีพลังดูดซับปุ๋ยสูงมากไวต่อการทำปฏิกิริยากับปุ๋ย โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจนต้องระมัดระวังมาก ถ้าใส่มากเกินไปจะทำให้ต้นเผือใบ ฝักโตเร็วเกินไป เป็นโรคและช้ำง่าย การใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง อาจใช้ในช่วงแรกก่อนติดฝักและหลังจากตัดต้นเพื่อเร่งการแตกกิ่งแขนง อัตราใส่ปุ๋ยโดยปกติ 20 วันต่อครั้ง ปริมาณปุ๋ย 10-25 กิโลกรัมต่อไร่ต่อครั้ง ตามความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งใช้ปุ๋ยประมาณ 75-100 กิโลกรัมต่อไร่ต่อฤดูปลูก ทั้งนี้ขึ้นกับความยาวนานของการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วย โรคและแมลง เพลี้ยจั๊กจั่นฝ้าย การทำลาย ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบกระเจี๊ยบเขียวและจะพบจำนวนเพลี้ยจั๊กจั่นมากจากใบที่ไม่อ่อนและแก่เกินไป ผลจากการทำลายจะทำให้ขอบใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล จนกระทั่งแดงและงอ ใบจะเหี่ยวแห้งและร่วงในที่สุด ถ้าระบาดรุนแรงจะทำให้ผลผลิตลดต่ำลงมาก การป้องกันกำจัด เมื่อพบจำนวนตัวอ่อนเพลี้ยจั๊กจั่นฝ้ายมากกว่า 1 ตัว/ใบ ควรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงชนิดใดชนิดหนึ่ง ได้แก่ 1. พ่นสารฆ่าแมลง เมทามิโดฟอส (methamidophos) เช่น ทามารอน 600 เอสแอล อัตรา 40 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร หรือไดเมทโธเอท (Dimethoate) เช่น โฟลิแมท 800 เอสแอล ควรพ่นในช่วงกระเจี๊บยเขียวยังเล็ก หรือช่วงที่ไม่ติดฝัก หรือในช่วงอายุกระเจี๊ยบเขียวไม่เกิน 45 วัน 2. กรณีที่กระเจี๊ยบเขียวติดฝักแล้ว ควรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงพวกสารไพรีทรอยด์ชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น ไซฮาโลทริน (cyhalothrin) เช่น คาราเต้ 2.5% อีซี อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หรืออัลฟ่า ไซเปอร์เมทริน (alpha cypermethrin) เช่น คอนคอร์ด 10% อีซี อัตรา 10 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร หรือเฟนโพรพาทริน (fenpropathrin) เช่น แดนนิตอล 10% อีซี อัตรา 20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 5 วันครั้ง หนอนกระทู้ผัก การระบาด มักพบทำลายกระเจี๊ยบเขียวเสมอ ๆ ไม่จำกัดฤดูกาลการทำลาย แม่ผีเสื้อวางไข่เป็นกลุ่มใหญ่ นับร้อยฟอง คลุมด้วยขนสีฟางข้าวบริเวณใบพืชหนอนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ จะอยู่กันเป็นกลุ่มแทะกินผิวใบ ลักษณะ ลักษณะหนอนจะมีลำตัวอ้วนผิวหนังเรียบ ลายสีดำจะสังเกตเห็นแถบดำที่คอชัดเจน ตัวโตเต็มที่ประมาณ 3-4 ซม. เคลื่อนไหวช้า การทำลาย ความเสียหายมักพบในระยะหนอนโต โดยทำลายดอกและฝักทำให้เกิดเป็นรอยเจาะเสียคุณภาพ การป้องกันกำจัด 1. หนอนกระทู้ผักสามารถป้องกันจำกัดได้ไม่ยาก เมื่อพบกลุ่มไข่หรือหนอนที่ฟักออกจากไข่ควรเก็บทำลาย หากปล่อยให้หนอนโตจนหนอนจะแยกย้ายหลบซ่อนตัว กัดกินเจาะเป็นรูสึก ในใบ ดอก และฝัก 2. กรณีที่มีการระบาดรุนแรง ควรพ่นด้วยสารเมทโธมิล (methomyl) เช่น แลนเนท 18% แอลซี อัตรา 40-50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร หรือสาร ไพรีทรอยด์ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไซฮาโลทริน (cyhalothrin) คาราเต้ 2.5% อีซี อัตรา 20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ช่วงพ่น 5-7 วัน ติดต่อกัน 2-3 ครั้ง หนอนเจาะสมอฝ้าย ลักษณะ เป็นแมลงจำพวกผีเสื้อกลางคืนขนาดกลาง วางไข่ฟองเดี่ยวตามบริเวณสวนของพืช เช่น ใบ ดอกตูม และฝัก ไข่มีสีขาวนวล ลักษณะกลมคล้ายฝาชี หนอนโตเต็มที่ ขนาด 4 ซม. มีสีสรร แตกต่างกัน ผิวลำตัวมีเส้นขนเล็ก ๆ ทั่วไปตรงรอยต่อระหว่างปล้อง การระบาด ระบาดรุนแรงในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม ในแหล่งปลูกกระเจี๊ยบเขียวทั่วไป เนื่องจากมีพืชอาหารมากมาย เช่น ฝ้าย ยาสูบ ข้าวโพด ส้ม เป็นต้น การทำลาย จะกัดกินส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ใบ ดอก และฝัก ทำให้ฝักเป็นรูไม่ได้คุณภาพ การป้องกันกำจัด 1. เก็บหนอนและกลุ่มไข่ที่พบในแปลงปลูก 2. ใช้เชื้อไวรัสของหนอนเจาะสมอฝ้าย อัตรา 30 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร 4 วันติดต่อกัน 4-5 วัน/ครั้ง หากพบระบาดรุนแรง 3. ควรพ่นสารฆ่าแมลงชนิดใดชนิดหนึ่งได้แก่ เมทโธมิล (methomyl) เช่น แลนเนท 18% แอลซี อัตรา 40-50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร หรือกลุ่มไพรีทรอยด์ พวกไซฮาโลทริน (cyhalothrin) เช่น คาราเต้ 5% อีซี อัตรา 10-20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร หรือสารระงับการลอกคราบได้แก่ คลอฟลูอะซูลอน (chlorfluazuron) เช่น อทาบรอน 5% อีซี อัตรา 20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 4 วันติดต่อกัน 4-5 ครั้ง หากระบาดรุนแรง เพลี้ยไฟ การทำลาย ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะทำลายพืชโดยใช้ปากเขี่ยดูดน้ำเลี้ยงที่ฝักทำให้กระเจี๊ยบเขียวมีตำหนิ และเป็นปุ่มปม เสียคุณภาพ การป้องกันกำจัด ถ้ามีการระบาดรุนแรงควรใช้สารฆ่าแมลงชนิดใดชนิดหนึ่ง ดังนี้ คือ คาร์โบซัลแฟน (carbosulfan) พอสซ์ 20% อีซี อัตรา 50 ซีซี/น้ำ 50 ลิตร หรือ เมทธิโอคาร์บ (methiocarb) เช่น เมซูโรล 50 % ดับบลิวพี อัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทำการฉีดพ่นสารฆ่าแมลงทุก 5 วัน/ครั้ง ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง และควรพ่นในช่วงเช้า เพราะเพลี้ยไฟมีช่วงการบิน เวลา 8.00-13.00 น. ยังมีแมลงศัตรูอีกหลายชนิดที่พบทำลายกระเจี๊ยบเขียว ได้แก่ เพลี้ยอ่อน, เพลี้ยแป้ง, หนอนคืบ เป็นต้น ซึ่งการทำลายยังไม่ก่อให้เกิดความเสียหายในขณะนี้ จึงยังไม่กล่าวถึงรายละเอียด ในที่นี้จากที่กล่าวมาแล้วเบื้องต้น ถึงแม้ว่าการปลูกกระเจี้ยบเขียวในการส่งออกในปัจจุบันจะประสบกับปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูมากมายหลายชนิด หากผู้ปลูกได้รู้จักชนิดของแมลงศัตรูพืชสำคัญตลอดจนถึงวิธีการป้องกันกำจัดที่ถูกต้อง และมั่นสำรวจแมลงศัตรูในแปลง อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอก็จะช่วยลดปริมาณการระบาดลงได้ การเก็บเกี่ยว ควรเก็บเกี่ยวเวลาเช้าตรู่ 6-9 นาฬิกา ใช้มีดหรือกรรไกรตัดกระเจี๊ยบเขียวทีละฝัก อย่าตัดหลายฝัก วางในภาชนะอย่าโยน การตัดขั้วต้องตัดให้ตรง มีก้านติดไม่เกิน 1 เซนติเมตร และอย่าให้เป็นปากฉลาม ซึ่งจะขีดข่วนหรือทำให้ฝักอื่นเสียหายมาก เมื่ออยู่ในภาชนะบรรจุ ภาชนะบรรจุผลผลิตต้องวางไว้ในที่ร่มเสมอ เช่น ใต้ร่มไม้ ถ้าไม่มีควรใช้ร่มกาง อย่าทิ้งไว้กลางแดด และรีบน้ำเข้าโรงพักผลผลิตโดยเร็วโรงพักผลผลิตควรมีลักษณะโปร่งอากาศถ่ายเทได้ดี ไม่อับทึบ อาจจะเป็นชั้นมีหลังคา ใต้ถุนบ้านหรือเพิงก็ได |
แสดงความคิดเห็น |
วันที่ประกาศ 2013-09-25 |