เมล็ดพันธุ์ผัก ต้นกล้า โรงเรือน อุปกรณ์การเกษตร โรคและแมลง อาหารเสริม ผลสด
เมล็ดพันธุ์คุณภาพ






108AGRIEQUIPMENT.COM
DUCKAGRO.COM

เมล็ดพันธุ์ผักกาดขาวปลี(ข้อมูลการปลูก)

    
  • เมล็ดพันธุ์ผักกาดขาวปลี(ข้อมูลการปลูก)
ผักกาดขาวปลี ขายส่งเมล็ดพันธุ์ผักกาดขาวปลี(ข้อมูลการปลูก)ตราเจียไต๋,ตราสิงโต
การเตรียมดิน
แปลงเพาะกล้า 
     ควรไถดินให้ดี ตากไว้ 5-7 วัน หลังจากนั้นก็คลุกเคล้าด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วให้มากพรวนย่อยดิน ให้ละเอียด โดยเฉพาะ ผิวหน้าดินเพื่อป้องกัน มิให้เมล็ดซึ่งมีขนาดเล็กตกในดินลึกเกินไปเมื่อปลูกโดยใช้วิธีหว่าน
แปลงปลูก 
     ผักกาดขาวปลีสามารถปลูกได้ในดินทั่วไป แต่ดินที่เหมาะสมที่สุดคือดินร่วนในดินเหนียวก็สามารถปลูกได้แต่ต้องทำให้ดินสามารถ ระบายน้ำได้ดี โดยการไถ หรือขุดดินให้ลึกประมาณ 30 เซนติเมตรและตากดินให้แห้ง ประมาณ 7-10 วัน จึงทำการย่อยพรวนให้ละเอียด ใส่ปุ๋ยคอก ลงคลุกเคล้า ถ้าเป็นดินเปรียวหรือดินเค็ม ควรใส่ปูนขาวอัตราประมาณ 40 ก.ก./ ไร่
การใส่ปูนขาว
     ถ้าดินเป็นดินทรายควรใส่ปุ๋ยคอกให้มากขึ้น อัตราที่ใช้ประมาณ 2 ปี๊บ/1 ตารางเมตรหรือถ้าใช้ปุ๋ยขี้เป็ด, ไก่, หมู ก็ลดปริมาณการใส่ลงมาเหลือตารางเมตรละ 1 ปี๊บก็พอควรคลุกเคล้า ให้เข้ากัน
การปลูก 
มีวิธีการปลูกได้ 2 วิธี
1. ปลูกแบบหว่านโดยตรง
โดยการหว่านเมล็ดพันธุ์ให้กระจายทั้งแปลง ซึ่งการปลูกวิธีนี้เหมาะสำหรับเมล็ดพันธุ์ที่มีราคา ไม่แพงและโดยเฉพาะในท้องที่ภาคกลางที่ยกแปลงกว้างมีร่องน้ำ การหว่านควรหว่านให้เมล็ด กระจายสม่ำเสมอ โดยทั่วไปจะผสมพวกทราย หรือเมล็ดผักที่เสื่อมคุณภาพแล้ว มีขนาดพอ ๆ กันลงไปด้วยเพื่อให้กระจายสม่ำเสมอดียิ่งขึ้น ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหว่านทับลงไปหนาประ มาณ 0.5-1.0 เซนติเมตรเพื่อช่วยรักษาความชื้น เสร็จแล้วคลุมฟางแห้งสะอาดอีกชั้นหนึ่ง ราด น้ำด้วยบัวละเอียดให้ทั่วแปลง หลังจากต้นกล้างอกและมีใบจริง 1-2 ใบ เริ่มถอนแยกเพื่อจัดระยะปลูกให้ได้ระยะระหว่าง ต้นและระหว่างแถวประมาณ 50x50 เซนติเมตร
2. การปลูกแบบเป็นแถวหรือหยอดเป็นหลุม 
หยอดให้เมล็ดเป็นแถวบนแปลงปลูก โดยให้ระยะระหว่างแถวห่างกัน 50 เซนติเมตร ลึกประ มาณ 0.5-10.0 เซนติเมตร หรือทำเป็นหลุมตื้น ๆ หยอดเมล็ดลงประมาณ 3-5 เมล็ด กลบดินหนา 0.5 เซนติเมตร เมื่อต้นกล้าเริ่มมีใบจริง 2 ใบให้ทำการถอนแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้น และถอนแยกครั้งสุดท้ายอายุไม่ควรเกิน 30 วัน
การเพาะและการย้ายกล้า
- ให้หว่านเมล็ดให้ทั่วพื้นแปลงแล้วกลบด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วหนา 0.5-1.0 เซนติเมตร
- หรืออาจหยอดเมล็ดเป็นแถวห่างกันแถวละ 5-10 เซนติเมตร ลึก 0.5-1 เซนติเมตรลึก 0.5-1เซนติเมตร เมล็ดควรโรยให้ห่างกันพอสมควร แล้วกลบด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่สลายตัวแล้ว แล้วรดน้ำให้ทั่วแปลงโดยใช้บัวละเอียด คลุมแปลงด้วยหญ้าแห้ง หรือฟางสะอาด ๆ บาง ๆ ช่วยเก็บรักษาความชื้นในดินและป้องกันการกระแทกของน้ำต่อต้นกล้าที่ยังเล็กอยู่ การย้ายกล้าควรย้ายตอนบ่าย ๆ ถึงเย็นหรือช่วงที่อากาศมืดครึ้มย้ายปลูกเมื่อมีอายุ 30-35 วัน
การปฏิบัติดูแลรักษา
     การใส่ปุ๋ย
เนื่องจากผักกาดขาวปลีเป็นผักกินใบ ควรให้ปุ๋ยที่มีสัดส่วนเป็น 2:1:1 เช่น ปุ๋ยสูตร 20-110-10 หรือสูตรใกล้เคียงนี้ในอัตราประมาณ 80-150 กก./ไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยการแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือครั้งแรกใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นจำนวนครึ่งหนึ่งโดย ใส่ตอนปลูกครั้งที่สองใส่เมื่อผักกาดอายุ 20 วัน โดยโรยข้างต้น แล้วรดน้ำ สำหรับพวกพันธุ์ปลียาว และปลีกลมแน่น ควรให้ปุ๋ยไนโตรเจน เช่น ยูเรีย หรือแอมโมเนียไนเตรทในอัตรา 20-30 ก.ก./ไร่ เมื่อกล้าอายุได้ 30-40 วัน โดยการหว่านหรือโรยข้างต้นก็ได้ แล้วรดน้ำตาม ทันทีระวังอย่าให้ปุ๋ยค้างที่ใบ เพราะทำให้ใบไหม้
     การให้น้ำ
ผักกาดขาวปลีต้องการน้ำมากและสม่ำเสมอ เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตตลอดฤดูปลูก ดังนั้น ควรให้น้ำอย่างเพียงพอโดยเฉพาะในระยะเข้าปลี
     การพรวนดินและกำจัดวัชพืช
ควรปฏิบัติหลังการย้ายกล้า 2 สัปดาห์ พร้อมกับใส่ปุ๋ยและทำการพรวนประมาณ 2-3 ครั้ง
การเก็บเกี่ยว
     อายุการเก็บเกี่ยวผักกาดขาวปลีไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับลักษณะพันธุ์ 
พันธุ์ที่เข้าปลีไม่แน่น   
     อายุที่เก็บเกี่ยวได้ประมาณ 40-50 วัน หลังจากหว่านเมล็ด โดยเลือกเก็บเกี่ยวต้นเริ่มแก่เต็มที่ได้ขนาด (ในท้องถิ่นทางภาคกลาง) 
พันธุ์ที่เข้าปลียาว หรือปลีกลมแน่น    
     อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 50-80 วัน หลังจากหยอดเมล็ดที่เก็บเกี่ยวได้ โดยเก็บขณะปลีห่อแน่นเต็มที่ก่อนที่ปลีจะเริ่มคลายตัวหลวมออก (ในท้องถิ่นภาคเหนือ) การตัดใช้มีดคมตัดที่โคนต้น ตัดแต่งใบที่เป็นโรคถูกแมลงทำลายออกบ้างพอสมควร แต่ไม่มากนัก ควรเหลือใบนอก ๆ ไว้สัก 2-3 ใบ เพื่อป้องกันการกระทบกระแทกในระ หว่างการขนส่ง

โรคและแมลง
โรคเน่าเละ (Soft rot) เกิด จากเชื้อแบคทีเรีย  ลักษณะอาการ เริ่มอาการของโรคเป็นจุดฉ่ำน้ำ ต่อมาจะเน่าอย่างรวดเร็ว ทำให้เนื้อเยื่อเปื่อยและเป็นน้ำภายในเวลา 2-3 วัน ผักจะเน่า ยุบตัวหมดทั้งต้นและหัว หรือฟุบแห้ง เป็นสีน้ำตาลอยู่ที่ผิวดิน อาการเน่าจะเกิดส่วนใดก่อนก็ได้ แต่โดยปกติจะเริ่มที่โคนกาบใบ หรือตรงกลางต้นก่อน สันนิษฐานว่าเชื้อราบางชนิดทำลายไว้ก่อน
การป้องกันกำจัด   
ป้องกันมิให้เกิดแผลในระหว่างเก็บเกี่ยวขนส่ง และการเก็บรักษา   ฉีดยาป้องกันแมลงและหนอน  
ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุโบรอนผสมด้วย โดยใช้ปุ๋ยบอแรกซ์ อัตรา 10-20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร  
อาจใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น พวกสเตร์ปโตมัยซิน อากริไมซิน ฉีดพ่น
โรคเหี่ยวของผักกาดขาวปลี (Fusaarium wilt to Chinese Cabbage)  เกิดจากเชื้อรา Fusarium Oxysporum  
อาการ ผักจะมีใบล่างเหลือง และเริ่มสังเกตได้ง่าย คือ มีใบล่างเหี่ยวแห้งซีกใดซีกหนึ่ง ทำให้ใบเบี้ยว งอไปข้างที่ใบเหี่ยว ต่อมาใบทางซีกนั้นจะเหี่ยวเพิ่มขึ้น และเหี่ยวทั่วต้นในเวลาต่อมา หรือผักเจริญเติบโตแต่เพียงซีกเดียวก่อนแล้วเหี่ยวตาย เมื่อถอนดูรากจะขาดหลุดจากลำต้น เพราะผุเปื่อยเป็นสีน้ำตาล ในดินเหนียวและดินทรายมักพบโรคนี้มาก 
การป้องกันกำจัด   ก่อนปลูกผักควรมีการเตรียมดินให้ดี มีการใส่ปูนขาวแก้ไขดินเป็นกรดก่อนปลูก  
ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนมากในระยะต้นกล้า  ควรปลูกพืชหมุนเวียนสลับพื้นที่ ใช้ยาป้องกันกำจัดในโรคนี้มักได้ผลไม่คุ้มค่า
โรคเน่าคอดิน (Damping off)  เกิดจากเชื้อรา Pythium SP.  โรคนี้จะเกิดเฉพาะในแปลงกล้าเท่านั้น การหว่านที่แน่นทึบอับลมและต้นเบียดกันมากมักจะเกิดโรค ต้นกล้ามักจะเกิดอาการเป็นแผลซ้ำที่โคนต้นระดับดิน เนื้อเยื่อตรงแผลเน่าและแห้งไปอย่างรวดเร็วเมื่อถูกแสงแดดทำให้ต้นกล้าหักพับ เพราะมีแผลซ้ำที่โคนต้นระดับดิน ต้นเหี่ยวแห้งตาย บริเวณที่เป็นโรคจะค่อย ๆ ขยายวงกว้างออกเป็นวงกลม 
การป้องกันกำจัด   
1. ไม่ควรหว่านเมล็ดผักแน่นเกินไป  
2. ใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อราละลายน้ำในอัตราความเข้มข้นน้อย ๆ ราดลงไปบนผิวดินให้ทั่วสัก 1-2 ครั้ง เช่น เทอราคลอเบนฟอร์ด ซึ่งเป็นยาป้องกันกำจัดเชื้อราในดินโดยตรงจะมีผลยิ่งขึ้น หรือจะใช้ริคโดมิล เอ็มแซด72 ละลายน้ำรดก็ได้ผลดี หรือใช้ปูนใส่รดแทนน้ำในระยะที่เป็นต้นกล้าก็จะช่วยให้ต้นกล้าแข็งแรง และไม่ต้องใช้ยาอีกเลย 
โรคใบด่างของผักกาดขาวปลี   เกิดจากเชื้อไวรัส Turnip mosaic Virus  อาการใบด่างเขียว สลับเขียวเหลือง แคระแกรนตามบริเวณเส้นใบจะพบเป็นสีม่วงปะปนอยู่ เมื่อเป็นโรครุนแรงขึ้น ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเหลืองทั้งใบ และมีลักษณะบิดงอเล็กน้อย
การป้องกันกำจัด  ใช้เมล็ดที่ปราศจากโรค  กำจัดต้นที่แสดงอาการของโรคในระยะแรก โดยการเผาทำลาย  ป้องกันกำจัดแมลงพาหะพวกเพลี้ยอ่อนด้วยสารเคมี ไดเมทไทเอท ในอัตรา 30 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร 
โรคราน้ำค้าง  เกิดจากเชื้อรา (Peroros Pora SP.)  ด้านบนใบเป็นรอยด่างสีเหลืองซีด ต่อมาแสดงอาการไหม้ทับใต้ใบปรากฏเส้นใยสีขาวเจริญขึ้นมา อาการลุกลามจากใบรอบนอกเข้าสู่ใบด้านใน หากเป็นรุนแรงทำให้ใบไหม้
การป้องกันกำจัด   
เมื่อเริ่มพบอาการให้ใช้สารเคมี ไดเมทเอ็ม หรือ อาโคนิล ฉีดพ่น หากมีการระบาดรุนแรงให้ใช้เอพรอน 35 ฉีดพ่น 1 ครั้ง 
6. โรคใบจุด   เกิดจากเชื้อรา (Altennaria SP.)  อาการ เป็นจุดค่อนข้างกลมสีน้ำตาล ลักษณะแผลเป็นวงซ้อนกัน 
การป้องกันกำจัด  
ห้ามใช้สารเคมี เบนเลท ฉีดพ่น หากมีระบาดมากให้ใช้สารเคมรอฟรัล สลับกับแอนทราโคลตามฉลากข้างภาชนะบรรจุ
แมลงที่สำคัญ 
หนอนใยผัก   
     หนอนใยผักเป็นหนอนผีเสื้อที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาหนอนผีเสื้อศัตรูผักจะมีลักษณะหัวท้ายแหลม เมื่อถูกตัวจะดิ้นอย่างแรง และทิ้งตัวลงดินโดยการสร้างใยมักจะพบตัวแก่ตามใบเกาะอยู่ในลักษณะหัวยกขึ้น หนอนใยเกิดจากที่แม่ผีเสื้อวางไข่ไว้ ไข่มีขนาดเล็กค่อนข้างแบน สีเหลืองวางติดกัน 2-5 ฟอง อายุฟักไข่ประมาณ 3 วัน อายุดักแด้เพียง 3-4 วัน ตัวแก่เป็นสีเหลืองเทา ส่วนหลังมีแถบสีเหลือง ตัวแก่อายุไม่เกิน 1 สัปดาห์ การทำลายจะกัดกินใบอ่อน หรือดอก กัดกินใบที่หุ้มอยู่ทำให้ใบเป็นรูพรุน หนอนใยมีความสามารถในการทนต่อยาและปรับตัวต้านทานยาได้
การป้องกันกำจัด  
1. ใช้สารเคมีพวกยาฆ่าแมลงกำจัดตัวหนอนโดยตรง  
2. การใช้เชื้อแบคทีเรีย (Bacillus thuringiensis Barinay)  
3. หมั่นตรวจดูแปลง เมื่อพบตัวหนอนควรรีบทำลายทันที
2. หนอนกระทู้ผัก  
หนอนกระทู้ผักมักพบบ่อยในพวกผักกาด จะกัดกินใบ, ก้าน หรือเข้าทำลายในหัวปลี มักจะเข้าทำลายเป็นหย่อม ๆ ตามจุดที่ผีเสื้อวางไข่ หนอนชนิดนี้สังเกตได้ง่าย ลำตัวอ้วนป้อม ผิวหนังเรียบคล้ายหนอนกระทู้หอม สีสันต่าง ๆ กัน แถบสีขาวข้างลำตัวไม่ค่อยชัดนัก เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาด 3-4 เซนติเมตร เคลื่อนไหวช้า ระยะตัวหนอนกินเวลาถึงอาทิตย์เข้าดักแด้ตามใต้ผิวดิน ระยะดักแด้ประมาณ 7-10 วัน การทำลายจะกัดกินก้านใบและปลี ในระยะเข้าปลี 
การป้องกันกำจัด  
1. หมั่นตรวจดูสวนผัก เมื่อพบไข่ควรทำลายเสียจะระงับการระบาดมิให้ลุกลามต่อไป  
2. สารเคมีที่อาจใช้ Methomyl อัตรา 10-12 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรืออาจใช้ Triazophos อัตรา 50-60 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร 
3. เพลี้ยอ่อน   
ตัวอ่อนของแมลงชนิดนี้ออกจากท้องแม่ได้โดยที่เพศเมียไม่ต้องผ่านการผสมพันธุ์ ตัวอ่อนที่ออกจากตัวแม่ ใหม่ ๆ พบว่ามีลำตัวขนาดเล็กมากต้องส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ลำตัวสีเหลืองอ่อนนัยตาสีดำ ขาทั้ง 3 คู่ สีเช่นเดียวกับลำตัวการทำลายเพลี้ยอ่อนชนิดนี้ทำลายพืชทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย โดยการดูดน้ำเลี้ยงจากพืชทั้งยอด ใบอ่อน ใบแก่ ช่อดอก ลักษณะอาการที่เห็นได้ชัด คือ ยอดและใบจะหยิกงอ เมื่อเพลี้ยอ่อนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ พืชก็จะเหี่ยว ใบผักจะถูกทำลาย จะค่อย ๆ มีสีเหลืองและร่วงหล่น ลำต้นจะแคระแกรน ถ้าทำลายช่อดอกจะทำให้ดอกร่วงหล่นหลุด ทำให้ผลผลิตลดลง
การป้องกันกำจัด   
ควรใช้สารเคมีกลุ่มมาลาไธออน มีชื่อการค้า เช่น มาลาเทนฒ มาลาไธออน 83% ในอัตรา 30-55ซีซี./น้ำ 20 ลิตร พ่น 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 7 วัน นอกจากนั้นอาจใช้ในอัตรา 5 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทำการพ่นเป็นครั้งคราว ยาชนิดนี้เป็นยาที่เหมาะสำหรับสวนผักหลังบ้าน ปลอดต่อมนุษย์ 
4. หมัดกระโดด  
พบตลอดปี ฉีดพ่นเซฟวิน 85 หรือแลนเนท เมื่อย้ายปลูก มดทำลายช่วงก่อนกล้างอก สังเกตจากทางเดินมด ป้องกันโดยใช้ เซฟวิน 85 และคูมิฟอสรดแปลงกล้า

แสดงความคิดเห็น
คุณสมบัติ วันที่ประกาศ 2013-09-25