เมล็ดพันธุ์ผัก ต้นกล้า โรงเรือน อุปกรณ์การเกษตร โรคและแมลง อาหารเสริม ผลสด
เมล็ดพันธุ์คุณภาพ






108AGRIEQUIPMENT.COM
DUCKAGRO.COM

โรคข้าวโพด

    
  • โรคข้าวโพด
วันนี้ 108เทคโนฟาร์ม นำ 5 โรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับข้าวโพด โดยในวันนี้นอกจากจะะมาบอกวิธีสังเกตุแล้ว เรายังนำวิธีป้องกันรักษามาบอกเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดอีกด้วย โดยจะมีโรคอะไรบ้าง และจะมีวิธีป้องกันรักษาอย่างไรลองไปอ่านกันเลยจ้า>>>

1.โรคราน้ำค้าง(Downy Mildew)
ลักษณะอาการ รอยขีดเป็นทางยาว สีเขียวซีดบนใบ มีสปอร์สีขาวคลุมบนรอยแผล ยอดบิด ไม่ยืดตัว ทำให้ต้นเตี้ย แคระแกรน ฝักจากต้นที่เป็นโรคจะมีเมล็ดไม่สมบูรณ์ และเมล็ดไม่เต็มฝัก โรคมักระบาดในฤดูฝนที่มีความชื้นสูง
วิธีป้องกันและควบคุม คลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันโรค เช่น เมตาแลกซิล หากพบการระบาดใช้สารป้องกันกำจัดโรค เช่น แมกตาแลกซิล สลับด้วยแมนโคเซบ หรือคลอโรทาโลนิล

โรคใบไหม้แผลใหญ่(Leaf Blight)
ลักษณะอาการ ใบไหม้แผลใหญ่ รอยช้ำน้ำสีเทาเป็นทางยาวบนใบแก่ และใบอ่อนข้าวโพด ภายใน 2-3 วัน แผลมีสีน้ำตาลแห้ง ขยายขนาดทางยาว โดยมีปลายแผลทั้งสองข้างรี กลางแผลมีสปอร์ราสีเทาดำกระจายตัว อาการรุนแรงทำให้ใบทั้งหมดไหม้ แห้งกรอบ
วิธีป้องกันและควบคุม ใช้พันธุ์ข้าวโพดที่ต้านทานโรค เช่น จัมโบ้สวีท และพันธุ์การค้าอื่นๆ ของตราศรแดง พ่นสารเคมีป้องกันโรค โดยสารเคมีที่ใช้ได้ผล ได้แก่แมนโคเซบ ไพรฟิโคนาโซล คลอโรทานิล หรือใช้อะช็อกชีสโตรบิน ถ้ามีการระบาดรุนแรงและรวดเร็ว แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันเกินกว่า 2 ครั้ง

โรคราสนิม
(Corn Rust)
ลักษณะอาการ โรคข้าวโพด ตุ่มนูนสีน้ำตาล ที่ภายใน มีผง สีสนิม อัดแน่น แผลนูน กระจาย ไปบน ใบข้าวโพด ทั้งด้านหน้าใบ และใต้ใบ ใบข้าวโพดไหม้ อย่างรวดเร็ว 
วิธีป้องกันและควบคุม เมื่อพบอาการบนใบ 3-4 จุด ควรเริ่มผลสารป้องกัน กำจัดโรคพืช เช่น แมคโคเซบ อะช็อกชีสโตรบิน หรือคลอโรทาโลนิล

หนอนเจาะฝัก ข้าวโพด
ลักษณะอาการ หนอนจะเข้าไปกินภายในฝักอ่อน หรือฝักแก่ ซึ่งจะสร้างความเสียหายในระยะสุดท้ายของการปลูก
วิธีป้องกันและควบคุม ใช้ยาทาบรอน หรือคลอร์ไพรีฟอส ป้องกันกำจัด

ฝักหวีในข้าวโพด 
ลักษณะอาการ ต้นแข็งแรง มีลักษณะใบสีเขียวเข้ม การออกฝักหลายฝัก แต่ฝักจะไม่สามารถเจริญพัฒนาฝักให้สมบูรณ์เพื่อเก็บเกี่ยวได้ดี
สาเหตุของอาการเกิิดฝักหวี
1.ระยะปลูก ห่างเกินไป โดยระยะ ปลูกข้าวโพด ที่เหมาะสม 25x75 ซม. ซึ่งการปลูกห่างทำให้ต้นได้รับปุ๋ยและน้ำมากเกินไป
2.มีการใส่ปุ๋ย ไนโตรเจนมาก เพื่อเร่งการเจริญเติบโต ในช่วงแรกๆ ที่ให้ต้นเกิดอาการ ที่เรียกว่า โอเวอร์ไนโตรเจน หรือ ต้นสมบูรณ์ มากเกินไป และอาจะเกิด ควบคู่ไปกับระยะ ปลูกห่างเกินไป
วิธีป้องกันและควบคุม 
1.ใช้ระยะปลูกที่เหมาะสม 25x75 ซม.
2.ใส่ปุ๋ยในอัตราที่เหมาะสม โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับสภาพต้นและแปลง

เมื่อเรารู้อาการ และวิธีป้องกันรักษาแล้ว เราก็ควรเตรียมตัวรับมือ และคอยดูแลข้าวโพดให้ดี เพราะเราไม่รู้ว่าโรคเหล่านี้จะเกิดกับข้าวโพดที่เราปลูกตอนไหน

-ขอบคุณข้อมูลจาก www.palangkaset.com
.............................................................................................
หากท่านต้องการซื้อเมล็ดพันธุ์คุณภาพ อุปกรณ์การเกษตร ทั้งปลีกและส่ง ติดต่อสอบถามได้ที่
บริษัท 108เทคโนฟาร์ม จำกัด
โทร. 092 528 1777
E-mail: [email protected]
www.108technofarm.com
Facebook: www.facebook.com/108technofarm
Line: @108technofarm
IG: 108technofarm
108 เทคโนฟาร์ม

แสดงความคิดเห็น
คุณสมบัติ วันที่ประกาศ 2018-02-24