โรคพืชหลังการเก็บเกี่ยวผักผลไม้
|
โรคของพืชที่เกิดขึ้นกับผลผลิตหลังจากเก็บเกี่ยว
จะเกิดจากสภาพแวดล้อมเหมาะสมที่เชื้อโรคจะฟักตัว เช่น ความชื้นสูงเกินไป
อุณหภูมิสูง การเก็บรักษาที่แน่นเกินไป การถ่ายเทอาการไม่ดีพอ
อย่างไรก็ตามเชื้อสาเหตุของโรคหลังการเก็บเกี่ยวอาจติดและแฝงมากับพืชตั้งแต่ก่อนเก็บเกี่ยวและต่อมาปรากฏอาการหลังการเก็บเกี่ยวในช่วงของการเก็บรักษาและขนส่งได้ ลักษณะการเข้าทำลายของเชื้อ การเข้าทำลายก่อนเก็บเกี่ยว
เชื้อจุลินทรีย์สามารถเข้าทำลายผลิตผลได้โดยตรง และเข้าทำลายส่วนอื่นๆ
ของพืชด้วย ทำให้ส่วนที่เป็นโรคเหล่านั้นเป็นแหล่งของเชื้อซึ่งจะแพร่โดย ลม ฝน
หรือ แมลงไปยังส่วนผลิตผล และเกิดการเข้าทำลาย แต่อาการของโรคไม่ปรากฏในไร่ในสวน
ในขณะที่ผลผลิตยังอยู่บนต้น เนื่องจากเชื้อเข้าทำลายแบบแฝงอยู่
อาการจะปรากฏให้เห็นภายหลัง ที่ผลผลิตเหล่านั้นได้ถูกเก็บเกี่ยวและบ่มให้สุก การเข้าทำลายขณะหรือหลังการเก็บเกี่ยว
มีการปนเปื้อนของสปอร์ หรือส่วนขยายพันธุ์อื่นๆ อยู่ที่ส่วนผิวของผลผลิต
หรือในระหว่างการขนย้ายหรือการปฏิบัติอื่นๆ โดยส่วนของเชื้อเหล่านี้พบอยู่ใน
บรรยากาศของโรงบรรจุหีบห่อ น้ำที่ใช้ในการล้าง หรือลดอุณหภูมิผลผลิต
ภาชนะที่ใช้ในการขนย้ายผลิตผล เป็นต้น เชื้อจุลินทรีย์ในกลุ่มนี้เข้าทำลายทางแผลหรือช่องเปิดธรรมชาติ
เจริญเติบโต และแพร่กระจายรวดเร็วทำให้ผลิตผลที่ถูกเชื้อเข้าทำลายเกิดการ เน่าเสีย
ภายในระยะเวลาอันสั้น ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าทำลายของเชื้อ – ปัจจัยก่อนเก็บเกี่ยว เช่น สภาพภูมิอากาศ
ธาตุอาหาร และการเขตกรรม – ปัจจัยหลังการเก็บเกี่ยว ได้แก่ ผลผลิต
ผลที่เป็นโรคก่อให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อ การเข้าทำลายของเชื้อในผลผลิตต่างๆ
มีส่วนเกี่ยวข้องกับสายพันธุ์ของพืชนั้นๆ อุณหภูมิ อุณหภูมิมีผลทั้งต่อเชื้อและผลผลิตโดยทั่วไป
อุณหภูมิที่ดีที่สุดสำหรับการเก็บรักษา คือ
อุณหภูมิต่ำสุดที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับผลผลิตผักและผลไม้ในเขตร้อน
ไม่ควรเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 13-14
องศาเซลเซียส เพราะก่อให้เกิดความเสียหาย จากความเย็นหรือ chilling injury ได้ง่าย ความชื้นสัมพัทธ์
ความชื้นสัมพัทธ์ในสภาพแวดล้อมช่วยป้องกันการสูญเสียน้ำใน
ขณะเดียวกันก็มีผลต่อเชื้อเช่นกัน การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวและการบรรจุหีบห่อ
ผลผลิตที่คุณภาพดีควรเป็นผลผลิตที่เก็บเกี่ยวในระยะที่มีความสุกแก่พอดี
ผลผลิตเหล่านี้ควรบรรจุในภาชนะที่เหมาะสมไม่ถูกแสงอาทิตย์ ฝน ลม หรือสภาพอื่นๆ
ที่ก่อให้เกิดการเสียหาย และปนเปื้อนของจุลินทรีย์ การควบคุมโรคหลังเก็บเกี่ยว การใช้ความร้อน
ใช้ความร้อนควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชในดิน
ใช้ความร้อนกำจัดเชื้อที่ติดมากับเมล็ดพืช ใช้ความร้อนควบคุมโรคผักและผลไม้ การใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์
กลไกการทำงานของเชื้อ คือ แข่งขันแย่งชิงอาหาร สร้างสารปฏิชีวนะ เป็นปรสิต
ชักนำความต้านทานในเนื้อเยื่อพืช การใช้อุณหภูมิต่ำ
เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพและใช้มากที่สุดในการยืดอายุการเก็บรักษาและลดการเน่าเสีย
อุณหภูมิต่ำทำให้การสุกของผลิตผลช้าลง ทำให้ความต้านทานของผลิตผลคงอยู่ การใช้รังสี
การใช้การฉายรังสีเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถควบคุมการเน่าเสียได้
แต่การใช้รังสีแกมม่าในการฉายรังสีให้ผลิตผลในอัตราที่สูงก็ก่อให้เกิด
ความเสียหายกับเนื้อเยื่อได้ การใช้การดัดแปลงบรรยากาศ การเก็บรักษาผลิตผลโดยวิธีการนี้
ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาได้ดีโดยทั่วไป
การเก็บโดยวิธีการรักษานี้จะพยายามทำให้ระดับของออกซิเจนต่ำกว่าระดับปกติ (21%)
และคาร์บอนไดออกไซด์ สูงกว่าระดับปกติ (0.03%) ของบรรยากาศ
การใช้การดัดแปลงบรรยากาศ ทำให้ความต้านทานของผลิตผลคงอยู่นานขึ้นและลดการเจริญของเชื้อ การใช้สารเคมี
ซึ่งสารเหล่านี้จะใช้ได้ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับความไวของเชื้อต่อสารเคมี
ความสามารถในการซึมลงไปในผิวของสารเคมีลงไปกำจัดเชื้อ นอกจากนี้สาร
เหล่านี้ต้องไม่ทำให้เกิดความเสียหายกับผลผลิตและมีพิษตกค้างไม่เกินกำหนดระหว่างประเทศ
เช่น สารเคมี fosetyl-Al ที่อัตราความเข้มข้น 2000 ppm สามารถควบคุมโรคเน่าของผลทุเรียนที่เกิดจากเชื้อรา
palmivora ได้โดยการจุ่มผลเพียง 2
นาที เก็บเกี่ยวพืชด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้ช้ำ
หรือเกิดแผลเกินจำเป็น ห้องเก็บผลผลิตควรมีการถ่ายเทอากาศดีและควบคุมความชื้น
อุณหภูมิได้ ............................................................................................. |
แสดงความคิดเห็น |
วันที่ประกาศ 2017-10-21 |