โรคในแตงโม
|
แตงโมถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมากในประเทศไทย แถมยังเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ตลอด เนื่องจากไม่ได้ใช้น้ำเยอะในการปลูก วันนี้108เทคโนฟาร์มมีความรู้เรื่องโรคแมลงในการปลูกแตงโมมาฝากกันค่ะ เผื่อที่ว่าจะช่วยให้เกษตรกรและผู้ปลูกหลายๆคนเตรียมตัวให้พร้อมกันค่ะ โดยโรคหลักๆที่คนปลูกแตงโมควรรู้ได้แก่ โรคเถาเหี่ยว ลักษณะที่มองเห็นในช่วงแรก คือ ใบในเถาจะเหี่ยวลงทีละใบ การเหี่ยวจะเหี่ยวจากปลายเถามาหาโคนเถาในเถาใดเถาหนึ่ง เมื่อเหี่ยวมาถึงโคนเถาก็จะเหี่ยวพร้อมกันหมดทั้งต้น แต่ใบยังคงเขียวอยู่ และพืชตายในทันทีที่พืชเหี่ยวทั้งต้นสาเหตุของการเหี่ยวก็คือเชื้อแบคทีเรียไปอุดท่อส่งน้ำเลี้ยงในต้นแตงโม ปกติเชื้อแบคทีเรียนี้อาศัยอยู่ในตัวของแมลงเต่าแตง ต้นแตงโมได้รับเชื้อโรคจากการกัดกินใบของแมลง วิธีป้องกันคือ ใช้สารเคมีเซฟวิน85 ช่วยป้องกันแมลงเต่าแตง โดยฉีดสารเคมีเซวิน 85 ป้องกันแมลงเต่าแตงและใช้ยาปฏิชีวนะสเตรปโตมัยซิน ฉีดพ่นทุกอาทิตย์สาเหตุเกิดจาก 1.เชื้อรานี้เจริญและทำลายแตงโมได้ดีที่อุณหภูมิระหว่าง 24 – 27 องศาเซลเซียส 2.ขณะแตงกำลังเจริญเติบโตมีฝนตกติดต่อกันยาวนาน 3.ดินมีธาตุไนโตรเจนอยู่สูง แต่มีธาตุฟอสฟอรัส (P2O5) และโปแตสเซี่ยม (K2O) อยู่ต่ำ 4.ดินเป็นกรดจัด การป้องกันและกำจัด 1.อย่าปลูกแตงโมซ้ำที่เดิม 2.เริ่มคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเคมีไดเทนเอ็ม -45 อัตรา 15 กรัม ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม ก่อนนำไปปลูก 3.ใช้ปูนขาวใส่ดินเพื่อแก้ความเป็นกรดของดิน ในอัตราไร่ละ 500 กิโลกรัม 4.ใช้สารเคมีไดเทน (แมนโคเซบ) ฉีดที่ต้นพืชจะช่วยทำให้เชื้อโรคชะงักลง 5.สารเคมีกลุ่มพีซีเอ็นบี เช่น เทอราคลอร์ ในอัตรา 60 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ราดลงในหลุมแตงโมที่เกิดโรคและบริเวณข้างเคียงทุก 7 วัน โรคราน้ำค้าง ลักษณะที่มองเห็นได้ คือ เกิดจุดสีเหลืองบนหลังใบ และขยายตัวใหญ่ขึ้น จำนวนจุดสีเหลืองเพิ่มปริมาณมากขึ้น และใต้ใบตรงตำแหน่งเดียวกัน จะมีกลุ่มของเชื้อราสีม่วงอมเทาเกาะเป็นกลุ่มอยู่ เชื้อโรคนี้เจริญได้อย่างรวดเร็ว เมื่ออากาศอุ่นและชุ่มชื้น เมื่อใบแก่ตายเชื้อก็จะไปทำลายใบอ่อนต่อไป เมื่อใบแห้งไปหมดแล้ว ผลที่เกิดขึ้นมาก็คือ แตงติดผลน้อยและคุณภาพผลแก่ก็ต่ำด้วย สปอร์ของเชื้อรานี้แพร่ระบาดไปโดยลมและโดยแมลงพวกเต่าแตง สาเหตุเกิดจาก คล้ายๆกับโรคราน้ำค้างทั่วๆ ไป คือ ชอบอุณหภูมิที่ค่อนข้างเย็นและความชื้นสูงในการเกิด และการเข้าทำลายพืช โรคราน้ำค้างของแตงโมจะเจริญเติบโตระบาดได้ดีในช่วงของอุณหภูมิระหว่าง 16-27 องศาเซลเซียส แต่จะดีที่สุดที่ 20 องศาเซลเซียสส่วนความชื้นนั้นต้องสูงเกินกว่า 86% ขึ้นไป การป้องกันและกำจัด 1. ขจัดทำลายวัชพืชพวกแตงต่างๆ และต้นที่งอก หรือหลงเหลือจากการเก็บเกี่ยวให้หมดจากบริเวณหรือแปลงปลูก 2. เมื่อปรากฏมีโรคเกิดขึ้นในแปลงปลูกให้รีบป้องกันการระบาดเพื่อรักษาต้นที่ยังดีอยู่โดยการใช้สารเคมี เช่น บาซิลัส ซับทิลิส ,ฟลูโอพิโคโล+ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม, อีทาบ็อกแซม, ไซม๊อกซานิล+ฟาม็อกซาโดน, แมนโคเซบ+แมนดิโพรพามิด, ไซม็อกซานิล+แมนโคเซบ, คลอโรทาโลนิลโรคต่างๆที่เกิดขึ้นก็เกิดมาจากการนำพาของเหล่าแมลงตัวร้าย ดังต่อไปนี้ เพลี้ยไฟ (ทำให้แตงโมใบหงิกและเป็นยอดตั้งหรือไอ้โต้ง) มีตัวขนาดเล็กมาก ตัวอ่อนจะมีสีแสด ตัวแก่จะเป็นสีดำ มีขนาดเท่าปลายเข็ม จะดูดน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อนของแตงโม และใต้ใบอ่อนของแตงโม ทำให้ใบแตงโมไม่ขยาย ยอดหดสั้นลง ปล้องถี่ ยอดชูตั้งขึ้นมักเรียกโรคนี้ว่า โรคยอดตั้ง หรือ โรคไอ้โต้ง เพลี้ยไฟจะบินไปเป็นฝูง มีลักษณะเล็กเหมือนกับฝุ่น เมื่อสวนใดสวนหนึ่งฉีดพ่นยา เพลี้ยไฟจะหนีเข้ามายังสวนข้างเคียงที่ไม่ได้ฉีดป้องกัน วิธีการจัดการคือใช้สารเคมีหลายชนิด เช่น แลนเนท เมทไธโอคาร์บ หรืออาจปลูกพืชเป็นกันชน เช่น ปลูกมะระจีนล้อมที่ไว้สัก 2 ชั้น เพราะมะระจีนสามารถต้านทานเพลี้ยไฟได้ เต่าแตง แมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง ที่ชอบกัดกินใบแตงขาดเป็นวง ๆขณะยังอ่อนอยู่ ซึ่งไม่ทำให้เกิดความเสียหายมากนัก แต่จะเป็นพาหะนำเชื้อโรคเถาเหี่ยวของแตงโมซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียมาสู่ผลผลิต แมลงวันทอง แมลงวันทองหรือแมลงวันผลไม้ตัวเท่าแมลงวันบ้าน แต่ตัวมีสีเหลืองหรือสีทอง ตัวเมียมีก้นแหลม แทงเข้าไปในเนื้อผลไม้เพื่อวางไข่ที่ผลแตงโม ในช่วงสร้างเนื้อ ทำให้เสียหายมาก ต่อเมื่อแผลเน่า หนอนที่โตจากการวางไข่ในผลไม้จะะมุดออกมานอกผลไม้เพื่อเข้าดักแด้ พอครบกำหนดก็ลอกคราบออกมาเป็นแมลงวันทองต่อไป ขอขอบคุณข้อมูลจาก : attapol62 และ allkaset ............................................................................................ |
แสดงความคิดเห็น |
วันที่ประกาศ 2018-09-22 |